© 2023 Chiang Mai Nayu Foundation | เชียงใหม่น่าอยู่
ของเชียงใหม่
แดชบอร์ด
การวัดการดำเนินงาน
สู่ความยั่งยืน
ของเชียงใหม่
ให้ข้อมูล
เชื่อมต่อ
ก่อแรงบันดาลใจ
ธรรมชาติ
เศรษฐกิจ
สังคม
ความเป็นอยู่
ธรรมชาติ
ทำไมอากาศสะอาดจึงมีความสำคัญต่อความยั่งยืนของนครเชียงใหม่
ไฟป่าจำนวนมากที่สร้างมลพิษหมอกควันได้ส่งผลกระทบต่อประชาชนเทศบาลเมืองเชียงใหม่ ไฟป่าเหล่านี้เกิดขึ้นจากอุทยานแห่งชาติและพื้นที่ป่าอนุรักษ์รอบตัวเมือง จำนวนไฟป่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเนื่องจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความกดดันของมนุษย์ที่เพิ่มขึ้นจากผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ มลพิษจากฝุ่นควันนี้ยังมาจากการเผาเศษพืชทางการเกษตรเช่นข้าวโพดที่ใช้ในการให้อาหารสัตว์ (หมู ไก่) และการผลิตไซรัปข้าวโพดให้อุตสาหกรรมขนมและเครื่องดื่ม ซึ่งทำให้เกิดมลพิษทางอากาศมหาศาลให้แก่เชียงใหม่
มลพิษทางอากาศและคุณภาพอากาศที่ลดลงอย่างมากนี้เป็นหนึ่งในความท้าทายระดับโลกด้านความยั่งยืนและสุขภาพที่ทั่วโลกกำลังเผชิญ โดยเฉพาะนครทางเอเชียดังนั้นมลพิษทางอากาศจึงเป็นความเปลี่ยนแปลงของนครที่สร้างความเปลี่ยนแปลงได้อย่างมาก จึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่ทางสหประชาชาติมีเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนปี 2030 มากมายที่เกี่ยวกับมลพิษทางอากาศทั้งทางตรงและทางอ้อม
สถานการณ์ที่เชียงใหม่เป็นอย่างไร
เชียงใหม่เผชิญกับปัญหาไฟป่าและมลพิษทางอากาศที่ทำให้เสื่อมสุขภาพเป็นอย่างยิ่งมานานกว่า 1 ทศวรรษโดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งอันได้แก่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายน สาเหตุที่ทำให้เกิดไฟป่าอย่างแพร่หลายนี้ยังไม่มีความเห็นที่เป็นเอกฉันท์ระหว่างชุมชนต่างๆ แต่สิ่งที่ชัดเจนก็คือไฟป่าทำให้คุณภาพทางอากาศลดลงจนถึงขั้นที่เชียงใหม่กลายเป็นนครที่มีคุณภาพอากาศยอดแย่ที่สุดในโลกเป็นเวลาหลายปีโดยเฉพาะช่วงฤดูแล้ง ซึ่งน่าเสียดายตรงที่ช่วงฤดูแล้งยาวนาน 6 เดือนนั้นเป็นช่วงที่นักท่องเที่ยวนิยมมาเยี่ยมเยือนเชียงใหม่มากที่สุด จึงกล่าวได้ว่าควันไฟส่งผลกระทบในเชิงลบต่อจำนวนนักท่องเที่ยวที่มาเยือนเชียงใหม่รวมถึงจำนวนรายได้ของชาวเชียงใหม่และยังกระทบต่อการตัดสินใจของชาวต่างชาติที่เคยเลือกเชียงใหม่เป็นเมืองที่จะอาศัยอยู่ในช่วงวัยเกษียณด้วย
ในปี 2563 ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมท้องถิ่นกล่าวว่าไฟป่าของปี 2563 นั้นเป็นปีที่แย่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาในตลอดเวลา 30 ปีซึ่งสถานการณ์ดูจะแย่ลงเรื่อย ๆ ทุกปี ช่วงหลังมานี้บางพื้นที่ของเชียงใหม่มีค่า PM 2.5 สูงถึง 592 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรอากาศ สูงกว่าระดับที่ปลอดภัยต่อการหายใจเกือบ 12 เท่า ตามที่องค์การอนามัยโลกได้กำหนดไว้ อย่างไรก็ตามเรายังไม่มีงานวิจัยที่เชื่อมโยงระหว่างคุณภาพอากาศที่แย่ในเชียงใหม่กับการตายก่อนวัยอันควร
ตัวชี้วัด (เราวัดอะไร)
- Hotspot ไปป่าในเชียงใหม่ต่อปีและต่อเดือน
- ดัชนีชี้วัดคุณภาพอากาศที่วัดในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤษภาคม
ใครกำลังจัดการกับเรื่องนี้
ติดตามข้อมูลเร็ว ๆ นี้
ทำไมคุณภาพอากาศจึงมีความสำคัญต่อทั้งสุขภาพของชาวเชียงใหม่และความยั่งยืนของนครเชียงใหม่
มลพิษทางอากาศ คือการมีสสารในชั้นบรรยากาศที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์ และสิ่งมีชีวิตอื่นหรือก่อให้เกิด ความเสียหายต่อ สภาพภูมิอากาศหรือต่อสิ่งไม่มีชีวิต สิ่งที่ใช้วัดระดับมลพิษทางอากาศ เรียกว่า ดัชนีชี้วัดคุณภาพอากาศ ที่ใช้โดย หน่วยงานราชการและหน่วยงานอื่นๆเพื่อสื่อสาร ให้แก่สาธารณะได้รู้ ทึ่ง สภาพอากาศว่า มีมลพิษมากน้อยเพียงใดรวมถึงพยากรณ์ มลพิษทางอากาศด้วย (AQI)
องค์การอนามัยโลก ในปี 2018 กล่าวว่าในปี 2016 มีประชากรโลก อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศ เกินขีดจำกัดด้านความปลอดภัยถึง 91 เปอร์เซ็นต์ อากาศที่เป็นพิษและ ส่งผลเสียต่อสุขภาพนี้ ทำให้ เกิดการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรราวสี่ 4.2 ล้านรายต่อปี ดังนั้นมลพิษในอากาศ อย่างพี่ PM10 และ PM2.5 ไนโตรเจนไดออกไซด์และโอโซนในภาคพื้นจึงก่อให้เกิดอันตรายอย่างมากต่อสุขภาพของมนุษย์ และยังเป็นสาเหตุของโรคต่าง ๆ เช่น โรคมะเร็งปอด โรคระบบทางเดินหายใจหรือหลอดเลือดด้วย มีการคาดการณ์ว่ามลพิษทางอากาศจะกลายเป็นสาเหตุการตายอันดับต้น ๆ ของโลก ภายในปี 2050
สถานการณ์ที่เชียงใหม่เป็นอย่างไร
จังหวัดเชียงใหม่ ได้เผชิญหน้ากับปัญหามลพิษทางอากาศ และคุณภาพอากาศที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างมากมานานกว่าหนึ่งทศวรรษ โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งระหว่างเดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนเมษายน มลพิษทางอากาศวิกฤตและรุนแรงขึ้นทุกปีในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา แม้จะใช้มาตรฐานของประเทศไทย ที่ฝุ่นละอองขนาดเล็กหรือ PM10 ควรอยู่ที่ระดับไม่เกิน 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยเฉลี่ยใน 24 ชั่วโมง เพราะเป็นเวลาหลายวันที่เชียงใหม่ในช่วงดังกล่าว มีระดับ PM10 ถึง 200 หรือมากกว่าไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งใน มาตรฐานสากลนั้นควรมีระดับค่า PM10 ต่ำกว่ามาก เช่น ระดับ PM10 เฉลี่ยใน 24 ชั่วโมง ตามที่คณะกรรมการสหภาพยุโรปได้กำหนดอยู่ที่ 50 μg/m3 เท่านั้น ช่วง หลายปีให้หลังมานี้ บางพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่ มีค่า PM2.5 มากถึง 592 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรอากาศ ซึ่งสูงกว่าระดับที่ องค์การอนามัยโลกได้กำหนดว่าเป็นระดับที่ปลอดภัยต่อการหายใจ
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศในจังหวัดเชียงใหม่มีหลายประการด้วยกัน เช่น การเพิ่มขึ้นของยานพาหนะในเมือง และการเผาใบไม้แห้ง ขยะของผู้อยู่อาศัย อย่างไรก็ตามปัจจัยที่สำคัญที่สุดได้แก่การเผาป่าในเขตอุทยานแห่งชาติ แอดและการเผาขยะมูลฝอยจากการเกษตร ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา เกษตรกรได้ทำการเผาขยะมูลฝอยจากการปลูกข้าวโพดมากขึ้น อันเนื่องมาจาก อุปสงค์ในการ น้ำข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในอุตสาหกรรม ปัญหานี้กระทบ จังหวัดเชียงใหม่เป็นอย่างยิ่ง ทั้งในเชิงเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว สภาพความเป็นอยู่และ การตัดสินใจเลือกเชียงใหม่เป็นแหล่งอาศัยของวัยเกษียณ อย่างไรก็ตามสุขภาพกายของประชากรท้องถิ่นได้รับผลกระทบอย่างมาก จากมลพิษทางอากาศนี้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว อีกทั้งยังก่อให้เกิด การตายก่อนวัยอันควรด้วย
ตัวชี้วัด (เราวัดอะไร)
- ดัชนีชี้วัดคุณภาพอากาศ (AQI) – AQI บอกให้เรารู้ว่าอากาศตอนนี้สะอาดหรือมีมลพิษ รวมถึงผลกระทบต่อสุขภาพที่เกี่ยวข้องที่คุณอาจต้องระวัง AQI มุ่งเน้น ที่ผลกระทบต่อสุขภาพ ที่คุณอาจ ประสบภายในไม่กี่ชั่วโมงหรือไม่กี่วันหลังจากหายใจในอากาศที่เป็นพิษ AQI วัดได้จากค่า 0 ถึง 500 ยิ่งตัวเลขสูง ยิ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ
- ละอองฝุ่น * PM2.5 เป็นส่วนประกอบของฝุ่นละเอียด อนุภาคที่สามารถหายใจเข้าไปในร่างกายได้ที่มีขนาดรัศมีประมาณ 2.5 ไมโครเมตรหรือเล็กกว่า ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์อย่างมาก
- ตัวเลขผู้เสียชีวิตต่อวัยอันควร (ข้อมูลแนวโน้ม) ต่อปีในเขตเชียงใหม่
- ตัวเลขหรือร้อยละของเกษตรกรและหมู่บ้านที่ทำการเกษตรที่ใช้หลักการการเกษตรแบบธรรมชาติ เช่น ถ่านชีวภาพ เพื่อกำจัดขยะมูลฝอยจากการเกษตรแทนการเผาปกติ ไบโอชาร์
- จำนวนหลังคาเรือนและหมู่บ้านที่ยังเผาขยะในครัวเรือน แทนการ ชำระเงิน สี่สิบบาทต่อเดือน เพื่อแลกกับการเก็บขยะจากเทศบาล/อบต
ใครกำลังจัดการกับเรื่องนี้
ติดตามข้อมูลเร็ว ๆ นี้
พื้นที่ที่มีต้นไม้ปกคลุมในเมือง รวมไปถึง ชั้นใบไม้กิ่งไม้และต้นไม้ที่ปกคลุมพื้นดินเมื่อมองจากทางอากาศ
ทำไมพื้นที่ที่มีต้นไม้ปกคลุมจึงมีความสำคัญต่อความยั่งยืนของเมือง
จำนวนของต้นไม้ในเมืองเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดของความยั่งยืนในเมือง การปกคลุมของเรือนยอดต้นไม้มีประโยชน์ต่อชุมชนในเมืองเป็นอย่างมาก เพราะช่วยให้เมืองน่าอยู่ขึ้น ช่วยพัฒนาสุขภาพและความเป็นอยู่ของประชากรและชุมชน และยังเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่า รวมถึงความหลากหลายทางชีวภาพ ในแง่ของการปรับปรุงพัฒนาพื้นที่เขตเมืองนั้น ยอดไม้ของต้นไม้ช่วยลดผลกระทบที่เรียกว่า “เกาะความร้อน"... จาก พื้นผิวปูนที่ทำให้เมืองร้อนขึ้น ได้ดีกว่าสิ่งแวดล้อมอื่น ต้นไม้ช่วยลดอุณหภูมิของอากาศในท้องที่ ผ่านกระบวนการที่พืชใช้คายน้ำร่วมกับการระเหย ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อแสงแดดกระทบกับยอดไม้ ทำให้ไอน้ำระเหยจากใบไม้นั่นเอง กระบวนการนี้ทำให้ต้นไม้และอากาศโดยรอบต้นไม้เย็นลง นอกจากนี้ยอดไม้และระบบรากยังช่วย กันลมพายุและฝนตกหนัก รวมถึงลดเสียงด้วย พื้นที่ที่มีต้นไม้ปกคลุม ช่วยพัฒนาคุณภาพ ของทัศนียภาพเมือง อีกทั้งต้นไม้ยังช่วยลดความเครียดและความวิตกกังวลของเราได้ งานวิจัยเมื่อไม่นานมานี้จากประเทศญี่ปุ่น ชิ้นหนึ่งกล่าวว่าผู้เข้าร่วม งานวิจัย รายงานถึงอารมณ์ของตนหลังจากเดินในเขตพื้นที่ป่าในเมืองเป็นเวลา 15 นาที เทียบกับ การเดินทางในพื้นที่ปกติอื่น ๆ ของเมือง ผู้เข้าร่วมทุกคนที่เดิน ในป่าเขตเมืองนั้นมีความวิตกกังวล ความเกลียดชัง ความเหนื่อยล้า ความสับสนและอาการซึมเศร้าลดลง ทั้งยังรู้สึกกระปรี้กระเปร่ามากกว่าเมื่อเทียบกับการเดินในเขตที่เป็นสิ่งปลูกสร้างของเมือง นอกจากนี้ต้นไม้และยอดไม้ยังเป็นแหล่งอาศัย แหล่งอาหารและที่กำบังให้แก่สิ่งมีชีวิตในเมือง ดูดซับคาร์บอนและเพิ่มออกซิเจนให้ตัวเมืองอีกด้วย
สถานการณ์ปัจจุบันของเชียงใหม่เป็นอย่างไร
จากรายงานการวิจัยในปี 2007 ที่ได้มาจากการแปลความหมายภาพถ่ายทางอากาศ พบว่าในเมืองเชียงใหม่ มีการปกคลุมของเรือนยอดต้นไม้ ประมาณ 33% ของเมือง และพื้นที่ปกคลุมต้นไม้กลับมีจำนวนลดลงเรื่อย ๆ เมื่อขยับเข้าไปใกล้ตัวเมืองมากขึ้น การวิจัยชี้ว่าพืชปกคลุมในตัวเมืองได้สร้างความหลากหลายที่สำคัญในสภาพแวดล้อมเมือง อย่างไรก็ตาม ด้วยการพัฒนาเมืองที่ขยายเพิ่มขึ้น มีความจำเป็นที่ต้องตรวจสอบแหล่งป่าไม้ที่มีอยู่ในเมืองอีกครั้งและคิดหารูปแบบที่เหมาะสมเพื่อแนะแนวทางการพัฒนาและรักษาพืชปกคลุมต้นไม้ในตัวเมือง
ตัวชี้วัด (เราวัดอะไร)
- ร้อยละของต้นไม้ปกคลุมภายในเมืองเชียงใหม่
- จำนวนต้นไม้ใหญ่
- จำนวนเส้นทางธรรมชาติ (ที่ยอดไม้หลาย ๆ กลุ่มเชื่อมต่อกันเป็นบริเวณกว้างเพื่อสร้างเส้นทางธรรมชาติให้แก่สัตว์ป่าในการเดินทางไปมา)
ใครกำลังจัดการกับเรื่องนี้
ติดตามข้อมูลเร็ว ๆ นี้
ทำไมพื้นที่สีเขียวในเมืองจึงมีความสำคัญต่อความยั่งยืนของนครเชียงใหม่
พื้นที่สีเขียวในเมือง รวมถึงสวนสาธารณะ พื้นที่ป่าตามธรรมชาติหรือสวนและพื้นที่จัดสรรในชุมชนล้วนมีประโยชน์ต่อประชากรในเมืองและผู้มาเยือนเป็นอย่างยิ่ง พื้นที่สีเขียวช่วยลดอุณหภูมิโดยรอบที่เกิดจากผลกระทบของเกาะความร้อน เพิ่มคุณภาพของอากาศ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากในเชียงใหม่เนื่องจาก ภาวะฝุ่นควันในแต่ละปี พื้นที่สีเขียวช่วยอนุรักษ์และเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ นอกจากนี้ยังให้ความเป็นอยู่ที่ดีและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจต่อผู้คนและธุรกิจ
งานศึกษาวิจัยหลายชิ้น ได้พิสูจน์แล้วว่าการอยู่อาศัย ในพื้นที่เขตเมืองสีเขียว ให้ผลเชิงบวกอย่างมาก ต่อสภาวะทางจิตของผู้อยู่อาศัย โดยงานวิจัยชิ้นหลักชิ้นหนึ่งจากสหรัฐอเมริกาได้เปิดเผยว่า การอยู่อาศัยในเมืองทั่วโลก เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าและปัญหาสุขภาวะทางจิตอื่น ๆ ในระดับสูง การศึกษาจำนวนมากยังเปิดเผยว่าผู้คนต่างรู้สึกว่าพื้นที่สีเขียว อย่างสวนสาธารณะและสวนสำหรับชุมชน ได้ช่วยพวกเขาจัดการความเครียดเกี่ยวกับชีวิตในเมืองได้ดี ปัจจุบัน ประชากรโลกกว่าครึ่งหนึ่งอาศัยอยู่ในเมือง เรื่องซึ่งทางสหประชาชาติคาดการณ์ว่าประชากรโลกเกือบ 70 % จะอาศัยอยู่ในเขตเมืองภายในปี 2050 เมื่อเราทราบแล้วว่าการอยู่อาศัยในเมืองมีความเกี่ยวข้องต่อ โรคสุขภาวะทางจิตและโรคซึมเศร้า และ การเข้าถึงพื้นที่สีเขียวในเขตเมืองที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ อย่างนกและดอกไม้นั้นมีความเกี่ยวข้องกับสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ก็เป็นที่ประจักษ์ชัดเจนแล้วว่าการพัฒนา ความหลากหลายทางชีวภาพในเขตเมืองเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง แต่กลับถูกละเลยในการออกแบบเมืองทุกเมือง (UN link)
สถานการณ์ที่เชียงใหม่เป็นอย่างไร
มาตรฐานและคำชี้แนะขององค์การอนามัยโลกได้แนะนำว่า เมืองใหญ่ควรจัดหาพื้นที่สีเขียวอย่างน้อยเก้าตารางรางเมตรต่อคน รัฐบาลไทยมีนโยบายสนับสนุนเรื่องนี้อย่างชัดเจนสำหรับการสร้างและการปกป้องพื้นที่สีเขียวภายในพื้นที่ อย่างไรก็ตาม เทศบาลเมืองเชียงใหม่กลับมีพื้นที่สาธารณะสีเขียวลดลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากจากพัฒนาตัวเมืองที่เพิ่มขึ้นที่ขาดความเป็นระเบียบ เช่น การสร้างคอนโดมิเนียมขนาดใหญ่ทั่วเมือง โดยแทบไม่คำนึงถึงสภาพความเป็นอยู่ หรือการพัฒนาพื้นที่สีเขียว ในแถบนั้นเลย
ตัวชี้วัด (เราวัดอะไร)
- จำนวนพื้นที่สวนสารธารณะในเทศบาลเมืองเชียงใหม่ (เป็นตารางเมตร)
- สัดส่วนของพื้นที่สีเขียวในพื้นที่เทศบาลเมืองเชียงใหม่เป็นร้อยละ
- ร้อยละหรือจำนวนในหนึ่งกิโลเมตรของริมฝั่งแม่น้ำในเชียงใหม่ที่ยังไม่ได้รับการพัฒนา
ใครกำลังจัดการกับเรื่องนี้
ติดตามข้อมูลเร็ว ๆ นี้
ทำไมคุณภาพน้ำจึงมีความสำคัญต่อความยั่งยืนของนครเชียงใหม่
แหล่งน้ำที่สำคัญที่สุดสามแห่งของเมืองเชียงใหม่คือ แม่น้ำปิง คลองแม่ข่าและอ่างแก้วในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แม่น้ำปิงเป็นแม่น้ำสายหลักทางด้านวัฒนธรรมและจิตวิญญาณของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งย้อนไปตั้งแต่การก่อตั้งอาณาจักรล้านนาไปปี พ.ศ.1779 ซึ่งก่อตั้งโดยพ่อขุนเม็งราย อย่างไรก็ตาม ภายใต้ความกดดันของเกษตรกรรมในทุกวันนี้ และมลภาวะในเมืองและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปัจจุบันได้ส่งผลกับปริมาณน้ำและน้ำฝน คลองแม่ข่าเป็นอีกหนึ่งแหล่งน้ำที่สำคัญของจังหวัดเชียงใหม่
สถานการณ์ที่เชียงใหม่เป็นอย่างไร
น่าเสียดายที่การเติบโตของเมืองที่ไม่ได้รับการควบคุมนั้นเป็นสาเหตุให้ทั้งแม่น้ำปิงและคลองแม่ข่าได้รับผลกระทบจากมลภาวะอย่างมหาศาล มลภาวะ จากพลาสติกที่เข้าสู่แม่น้ำปิงผ่านการทิ้งขยะหรือพายุจะถูกพัดเข้าสู่ทะเลอันดามันนอกเสียจากมีคนนำเก็บไปทิ้งเป็นที่เสียก่อน มลภาวะจากขยะพลาสติกนี้ทำให้ประเทศไทยกลายเป็น ผู้ก่อมลภาวะสู่มหาสมุทรที่แย่ที่สุดอันดับหกของโลก โดยอ้างอิงจากธนาคารโลก World Bank.
ส่วนอ่างเก็บน้ำอ่างแก้วมีทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงามซึ่งตั้งอยู่ในแหล่งพื้นที่สีเขียวของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แต่ทว่า เช่นเดียวกันกับแม่น้ำปิงและคลองแม่ข่า อ่างแก้วก็เผชิญหน้ากับมลภาวะจากแหล่งที่มาแตกต่างกันออกไป ปลาที่ตายอย่างต่อเนื่อง น้ำที่ส่งกลิ่นเหม็นและชั้นตะไคร่น้ำที่โผล่บนพื้นผิวอ่างเก็บน้ำ มลภาวะทางน้ำของเมืองเราในตอนนี้ได้กระตุ้นความทรงจำให้หวนคิดถึงประเพณีและวัฒนธรรมตามสายน้ำเหล่านี้ น่าเสียดายอย่างยิ่ง ความจริงของแม่น้ำปิงและคลองแม่ข่าที่ถูกทำลายนั้นได้แสดงถึงความเสี่ยงด้านสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมและทำลายภาพลักษณ์ของเมืองเชียงใหม่ที่เป็นที่เป็นดังกุหลาบเมืองเหนือของประเทศไทย
ตัวชี้วัด (เราวัดอะไร)
- คุณภาพน้ำของแม่น้ำปิงภายในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่โดยเฉลี่ยต่อเดือนและรายปี จาก สถานีหรือจุดวัดค่าน้ำ
- คุณภาพน้ำของคลองแม่ข่าภายในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่โดยเฉลี่ยต่อเดือนและรายปี จาก สถานีหรือจุดวัดค่าน้ำ
- คุณภาพน้ำในเขต ครูเมือง โดยเฉลี่ยต่อเหนือ และรายปีจากสถานีหรือจุดวัดค่าน้ำ
- คุณภาพน้ำในอ่างแก้วภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ใครกำลังจัดการกับเรื่องนี้
ติดตามข้อมูลเร็ว ๆ นี้
เศรษฐกิจ


ทำไมอาหารออร์แกนิกจึงมีความสำคัญต่อความยั่งยืนของเชียงใหม่
นับเป็นระยะเวลาพันปีที่มนุษยชาติได้เอาชีวิตรอดและเจริญเติบโตจากการกินอาหารอินทรีย์จากธรรมชาติที่มีสารอาหารเต็มเปี่ยม อย่างไรก็ตาม ในช่วงระยะเวลาไม่นานมานี้ (ตั้งแต่ปีพศ. 2500 เป็นต้นมา) อุตสาหกรรมการเกษตรได้มีบทบาทสำคัญในการสร้างเสบียงอาหารและการใช้สารเคมีอย่างแพร่หลาย (ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง สารกำจัดวัชพืช) บางอย่างเป็นสารก่อมะเร็ง ทั้งนี้ล้วนเป็นไปเพื่อให้จำนวนการเพาะปลูกของอาหารมีปริมาณมากพอที่จะผลิตอาหารและขนมส่งไปยังซุปเปอร์มาร์เก็ตทั่วโลก สารเคมีเหล่านี้เป็นอันตรายต่อความหลากหลายทางชีวภาพ (พืชพันธุ์และสัตว์เฉพาะถิ่น) ปนเปื้อนพื้นผิวหน้าดินและแหล่งน้ำอีกทั้งยังเป็นพิษต่อสุขภาพของมนุษย์ (ก่อให้เกิดมะเร็ง)
องค์การสหประชาชาติกล่าวว่า เกษตรกรตัวเล็ก ๆ นี้เองที่เป็นผู้ปลูกอาหารหล่อเลี้ยงโลก ในขณะที่ฟาร์มเชิงเดี่ยวเชิงอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่พึ่งพาปิโตรเคมีนั้นเป็นผู้ผลิตพืชเศรษฐกิจ (ข้าวโพด น้ำตาล ปาล์ม น้ำมันและอื่น ๆ) ให้แก่อุตสาหกรรมอาหาร องค์การสหประชาชาติได้ระบุเพิ่มเติมว่าเราจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์จากการเกษตรเคมีอุตสาหกรรมกลับเข้าสู่การทำเกษตรเชิงนิเวศแบบองค์รวมให้มากขึ้น ทำงานร่วมกับธรรมชาติ ไม่ใช่ต่อต้านธรรมชาติ สหประชาชาติ
สถานการณ์ที่เชียงใหม่เป็นอย่างไร
จังหวัดเชียงใหม่เป็นพื้นที่ที่โชคดีที่มีที่ตั้งอยู่ในสถานที่และภูมิอากาศที่มีความอุดมสมบูรณ์เป็นพิเศษ สิ่งนี้ถือเป็นจุดแข็งอย่างหนึ่งของเมืองเชียงใหม่ ช่วงปีที่ผ่านมาเราได้เห็นการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในฟาร์มออร์แกนิกและแหล่งเพาะเลี้ยงเพื่อการศึกษา ซึ่งทั้งหมดล้วนปฏิบัติตามหลักการเกษตรกรรมธรรมชาติ จากรูปแบบเศรษฐกิจพอเพียงที่ผลักดันโดยในหลวงรัชกาลที่ 9 ยิ่งไปกว่านี้ เชียงใหม่ยังได้พัฒนาการจำหน่ายสินค้าออร์แกนิกสำหรับทั้งประชาชนในพื้นที่และตลาดเกษตรกรในเชียงใหม่รวมถึงในกรุงเทพฯ และทั่วประเทศ ในขณะเดียวกันก็ทำให้พื้นที่ตัวเองเป็นพื้นที่มีสุขภาวะที่ดีของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลยุทธ์นี้ได้มุ่งเน้นไปที่การสร้างจุดแข็งของตัวเองและทำงานกับธรรมชาติเพื่อผลิตสินค้าที่มีคุณค่าทางโภชนาการเพื่อช่วยเพิ่มจุดแข็งให้กับเศรษฐกิจในพื้นที่ ทำให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้นเมื่อต้องเผชิญกับการท่องเที่ยวที่อ่อนแอลง อย่างไรก็ตาม เกษตรกรยังใช้ที่ดินอันมีคุณค่าอย่างมากในการปลูกพืชอุตสาหกรรมเชิงเดี่ยวอย่างข้าวโพด ซึ่งพืชเหล่านี้ต้องการใช้สารเคมีอันตรายในการกำจัดสิ่งมีชีวิตอื่นออกจากพื้นที่ปลูก สารเคมีเหล่านี้ (ยาฆ่าแมลง ยากำจัดวัชพืช และปุ๋ย) นอกจากมีราคาแพงแล้ว ยังเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อมนุษย์และพืช
ตัวชี้วัด (เราวัดอะไร)
- ผลผลิตสินค้าออร์แกนิกในจำนวนกิโลกรัมและราคาต่อปี
- จำนวนของสถานประกอบการที่ขายสินค้า อาหารออร์แกนิก
- จำนวนของการร่วมมือของรูปแบบ “Farm to Table”
- จำนวนของตลาดสินค้าออร์แกนิกในจังหวัดเชียงใหม่
- จำนวนฟาร์มออร์แกนิกเทียบกับฟาร์มเคมีและผลผลิตที่ผลิตได้เป็นตัน
- จำนวนฟาร์มออร์แกนิกในตัวเมือง
- จำนวนไร่/ที่ดินที่ใช้ในการปลูกข้าวโพดอุตสาหกรรม เทียบกับผลผลิตแบบออร์แกนิก
ใครกำลังจัดการกับเรื่องนี้
ติดตามข้อมูลเร็ว ๆ นี้
ทำไมโซลูชั่นการจัดการขยะแบบยั่งยืนจึงมีความสำคัญต่อความยั่งยืนของเชียงใหม่
ด้วยทรัพยากรที่ไม่สามารถหมุนเวียนมีอยู่อย่างจำกัดและการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรที่ทำให้ความต้องการทางการบริโภคเพิ่มมากขึ้น การจัดการขยะอย่างถูกวิธีจึงเป็นกุญแจสำคัญในการทำให้นครแห่งนี้มีความยั่งยืนอย่างแท้จริง กรมควบคุมมลพิษได้ระบุว่าประเทศไทยมีปัญหาการจัดการขยะที่น่ากังวลเป็นอย่างมาก ธนาคารโลกให้ข้อมูลว่าทวีปเอเชียเป็นแหล่งผลิตขยะพลาสติกที่ก่อให้เกิดมลพิษในท้องทะเลถึง 80% ของโลก และประเทศไทยเป็นผู้ก่อให้เกิดมลพิษทางทะเลที่แย่ที่สุดอันดับ 6 ของโลก จนถึงปัจจุบัน จังหวัดเชียงใหม่ก็ยังไม่มีโครงการรีไซเคิลการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพในระดับเมืองใหญ่เลย โดยส่วนใหญ่แล้ว ถ้าขยะทั้งหมดไม่ถูกกำจัดโดยวิธีการฝังกลบก็จะใช้วิธีการเผา ทำให้มลภาวะทางอากาศที่รุนแรงอยู่แล้วยิ่งย่ำแย่ขึ้นไปอีก จากข้อมูลของเทศบาลในปี 2560 ขยะส่วนมากที่ถูกส่งไปยังพื้นที่ฝังกลบจะเป็นขยะออร์แกนิกจึงสามารถย่อยสลายได้ (เศษอาหาร 62%, กระดาษ 7%) และอีก 22% เป็นขยะพลาสติก คนท้องถิ่นบางส่วนได้เก็บสะสมขวดพลาสติกแต่นี่ก็เป็นเพียงหนทางแก้ไขบางส่วนเท่านั้น ธนาคารโลก
ด้วยระดับการบริโภคและมลพิษจากพลาสติกที่เกิดขึ้นในเชียงใหม่ในฐานะเมืองที่กำลังพัฒนา จำเป็นต้องพิจารณาถึงแนวทางการจัดการขยะและการรีไซเคิลอย่างมีประสิทธิภาพ อันรวมถึงการแยกขยะจากต้นทาง คือจากบ้านเรือนและระดับปลีกย่อย การลงทุนกับแนวทางดังกล่าว นอกจากจะสร้างงานแล้วยังสร้างอุตสาหกรรม (วัสดุปุ๋ยหมัก) และตลาดใหม่อีกด้วย สิ่งนี้ล้วนแต่มีผลประโยชน์ต่อเมือง เศรษฐกิจและสภาพแวดล้อม อีกทั้งยังสอดคล้องกับโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (BCG) ของประเทศไทยอีกด้วย แต่สิ่งนี้ต้องอาศัยความเป็นผู้นำที่มีจริยธรรมและวิสัยทัศน์
สถานการณ์ที่เชียงใหม่เป็นอย่างไร
ปัจจุบัน เชียงใหม่ยังไม่มีบริการแยกขยะและรีไซเคิลอย่างเป็นทางการจากเทศบาล ซึ่งเทศบาลใช้งบประมาณกว่าปีละ 200 ล้านบาท บาทต่อปีหรือราว 12% ของงบประมาณต่อปีในการเก็บขยะ มีขยะมากมายถูกส่งไปฝังกลบในพื้นที่ห่างจากตัวเมืองราว 100 กิโลเมตร ขยะส่วนมากที่ถูกส่งไปยังพื้นที่ฝังกลบจะเป็นขยะออร์แกนิกจึงสามารถย่อยสลายได้ (เศษอาหาร 62%, กระดาษ 7%) และอีก 22% เป็นขยะพลาสติก คนท้องถิ่นบางส่วนได้เก็บสะสมขวดพลาสติกแต่นี่ก็เป็นเพียงหนทางแก้ไขบางส่วนเท่านั้น เมื่อเก็บขยะมาหมักเป็นเวลาหลายปีแล้ว พื้นที่นี้จะถูกปิดทึบด้วยปูนซีเมนต์ ซึ่งแก๊สที่ได้จากบ่อขยะจะถูกนำไปในใช้เป็นแก๊สหุงต้มให้กับหมู่บ้านในท้องที่ เศษผักผลไม้ เนี่ยเศษพืชจากการทำสวน เนี่ยกระดาษ แก้วกระจก เนี่ยสังกะสีและพลาสติกสามารถนำไปแยกรีไซเคิล ซึ่งนับเป็นการสร้างงานอย่างที่ประเทศและเมืองอื่นๆทั่วโลกทำกัน หากต้องการศึกษาเพิ่มเติม อ่านได้ที่ Wasting Away โดยเนี่ยนิตยสารซิตีไลฟ์ (Wasting Away).
ตัวชี้วัด (เราวัดอะไร)
- จำนวนงบประมาณของรัฐบาลที่กำหนดให้กับเทคโนโลยีการจัดการขยะอย่างยั่งยืนและการศึกษาสาธารณะ
- จำนวนร้อยละของครัวเรือนและธุรกิจที่แยกขยะได้อย่างถูกต้อง
- จำนวนตันของปริมาณขยะมูลฝอยที่ไม่ได้แยกประเภทจะถูกนำไปฝังกลบ
- ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์และก๊าซพิษอื่น ๆ ที่ปล่อยออกมาจากหลุมฝังกลบต่อปี
- จำนวนที่ถูกเบี่ยงเบนไปทำรีไซเคิลและทำปุ๋ยหมัก
- การส่งของเสียอันตราย แบตเตอรี่ ฯลฯ ไปยังแผนกเทศบาลที่เหมาะสม
- การเพิ่มการดำเนินการตามค่าปรับสำหรับการเผาขยะแบบ "ตรงจุด"
ใครกำลังจัดการกับเรื่องนี้
ติดตามข้อมูลเร็ว ๆ นี้
ทำไมพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดจึงมีความสำคัญต่อความยั่งยืนของเชียงใหม่
ในแผนบูรณาการพลังงานระยะยาวของประเทศไทย (TIEB) ประเทศไทยได้กำหนดให้ความมั่นคงด้านพลังงานเป็นเป้าหมายสูงสุดของนโยบายอย่างชัดเจนตามด้วยความสามารถในการใช้จ่ายทางเศรษฐกิจและความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม การให้ความสำคัญดังกล่าวได้ตอบสนองต่อความต้องการของพลังงานที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ทรัพยากรพลังงานสำรองของไทย (ส่วนมากเป็นก๊าซธรรมชาติ)กำลังจะหมดลง รวมถึงเพื่อตอบสนองต่อการพึ่งพาพลังงานจากประเทศอื่นมากเกินไปด้วย (TIEB)
ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันดิบและถ่านหินที่ประเทศไทยมีเป็นของตัวเองนั้นไม่เพียงพอต่อความต้องการของคนในชาติ กว่าสี่ทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยได้พึ่งพาเชื้อเพลิงนำเข้าเพื่อให้เพียงพอราวครึ่งหนึ่งของความต้องการพลังงานในประเทศ ซึ่งถือว่ามีความเสี่ยงอย่างมากทั้งในด้านความยั่งยืนและมั่นคงของชาติ ภาคอุตสาหกรรมและการขนส่งใช้พลังงานเป็นสามส่วนของจำนวนพลังงานทั้งหมด
ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันดิบและถ่านหินคิดเป็น 90% ของการผลิตพลังงานของประเทศไทย ด้วยพลังงานหมุนเวียน (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชีวมวล) นั้นมีอยู่เพียง 10% ในปี พ.ศ. 2559 ประเทศไทยได้เซ็นสัญญาข้อตกลงเพื่อซื้อไฟฟ้าจากประเทศลาวแต่ก็จำเป็นต้องสร้างเขื่อนที่แม่น้ำโขง ซึ่งจะเป็นสาเหตุให้เกิดการทำลายสภาพแวดล้อมและสังคมในขณะนี้
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (DEDE) และ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ. ที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 ภายใต้แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP) ปี พ.ศ. 2558-2579 ที่เรียกร้องให้ภาคธุรกิจและภาคที่อยู่อาศัยส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน การเรียกร้องให้ใช้ทางเลือกสีเขียวเพิ่มขึ้นในชุมชนเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการจัดหาพลังงานและลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงนำเข้าของประเทศ เช่นจากประเทศลาว
สถานการณ์ที่เชียงใหม่เป็นอย่างไร
ประเทศไทยมีแสงแดดที่อุดมสมบูรณ์ตลอดทั้งปีซึ่งสามารถให้พลังงานที่จำเป็นต่อสาธารณูปโภคได้ (อาคาร โรงแรม คอนโดมิเนียม และอื่น ๆ) โดยเฉพาะในช่วงระหว่างวันที่มีการใช้เครื่องปรับอากาศมากผ่านการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ ชีวมวลจากการเกษตรก็สามารถเป็นแหล่งพลังงานทดแทนและเชื้อเพลิงในประเทศสำหรับประชากรชายเมืองอีกทางหนึ่งแทนที่การเก็บไม้ฟืนจากป่า โซลูชันชีวมวลของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่สามารถขยับขยายให้เกิดขึ้นได้ในระดับที่กว้างขึ้นเพื่อรับเศษอาหารจากแหล่งอื่นในเชียงใหม่มาแปรรูปเป็นชีวมอลสำหรับชาวเชียงใหม่อย่างที่มีการจัดการกันในเมืองอื่น
อย่างไรก็ตาม ในเชียงใหม่แทบไม่มีแผงโซลาร์พลังงานแสงอาทิตย์ให้เห็น อีกทั้งแทบไม่มีผู้อยู่อาศัย คอนโดและธุรกิจใดที่ทำรายได้จากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสำหรับพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงโซลาร์เหล่านี้ ไม่มีระบบแปรสภาพเศษอาหารเป็นพลังงานชีวมวลในระดับเมือง และยังคงมีการถางป่าเพื่อเอาฟืนกันอย่างต่อเนื่อง แต่ทั้งหมดนี้เปลี่ยนได้ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ กฟภ. ควรผลักดันส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่ติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์โดยหาเงินสนับสนุนหรือสิ่งจูงใจจากรัฐบาล เพื่อให้ประชาชนและภาคธุรกิจสามารถทำเงินจากพลังงานไฟฟ้าที่ตนไม่ได้ใช้ ซึ่งนี่อาจเป็นแหล่งรายได้ต่อเนื่องแบบไม่ต้องลงแรงเพิ่มให้แก่หลายพันหลังคาเรือน อีกทั้งสามารถชวยลดการพึ่งพพาพลังงานจากต่างชาติอย่างลาวได้อีกด้วย
ก๊าซที่ใช้ในท้องถิ่นสามารถหาได้จากโซลูชันเศษอาหารและขยะชีวมวลและเกษตรกรยังสามารถผลิตไบโอชาร์จากสิ่งเหลือใช้ทางการเกษตร นำไปขายให้ชาวบ้านเพื่อลดและเลี่ยงการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อเอาถ่านไม้ ทั้งหมดนี้สามารถลดความจำเป็นในการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศและยังช่วยเสริมสร้างการพึ่งพาตนเองและความมั่นคงด้านพลังงานให้แก่ทั้งเชียงใหม่และประเทศชาติ โดยทั้งหมดนี้สอดคล้องกับโมเดลเศรษฐกิจแบบ BCG อีกด้วย
ตัวชี้วัด (เราวัดอะไร)
- จำนวนงบประมาณจากรัฐบาลท้องถิ่นที่ใช้สนับสนุนการเริ่มต้นใช้พลังงานแสงอาทิตย์ตามโรงแรม คอนโดมิเนียม สถานศึกษา บ้านเรือน และอื่น ๆ
- จำนวนหลังคาที่ติดตั้งแผงโซลาร์
- ปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตจากแหล่งพลังงานทางเลือก เช่น พลังงานแสงอาทิตย์และป้อนเข้ากริด
- ปริมาณรายได้ที่ได้จากประชากรและภาคธุรกิจในพื้นที่ที่มาจากการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์
- ปริมาณเศษอาหารที่ลดลงและถูกแปรสภาพเป็นก๊าซชีวมวลแทนที่จะไปบ่อฝังกลบ
- จำนวนไฟฟ้าที่ซื้อจากพลังงานสิ้นเปลืองอย่างเช่นก๊าซธรรมชาติ
- จำนวนเกษตรกรที่ผลิตและขายไบโอชาร์เพื่อแทนที่ถ่านไม้จากแหล่งพลังงานสิ้นเปลือง เช่น ไม้ซุง
ใครกำลังจัดการกับเรื่องนี้
ติดตามข้อมูลเร็ว ๆ นี้
ทำไมการขนส่งมวลชนที่ยั่งยืนในราคาที่เอื้อมถึงจึงมีความสำคัญต่อความยั่งยืนของเชียงใหม่
เช่นเดียวกับเมืองสมัยใหม่หลายเมืองในทุกวันนี้ จังหวัดเชียงใหม่เผชิญกับมลพิษจากการจราจรในเมืองมากมาย มีการผลักดันเพื่อสร้างถนนเส้นใหญ่และถนนวงแหวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนทำให้เชียงใหม่ขยายตัวของเมืองแบบกระจัดกระจายที่ดูไม่น่ามองเท่าไหร่นักด้วยต้นทุนในการสร้างชุมชนท้องถิ่นที่เชื่อมถึงกันโดยรถไฟรางเบาและรถบัสสาธารณะ ผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและปอดของมนุษย์มีจำนวนไม่น้อยและเพิ่มมากขึ้นเมื่อรวมกับพื้นที่และป่าที่ถูกไฟไหม้ในแต่ละปี ยิ่งไปกว่านั้นประเทศไทยก็ยังมีอุบัติเหตุและการเสียชีวิตทางถนนเป็นจำนวนมาก สิ่งเหล่านี้จะสามารถลดลงได้อย่างมากด้วยบริการขนส่งสาธารณะที่ดี
สถานการณ์ที่เชียงใหม่เป็นอย่างไร
มีการศึกษาเกี่ยวกับประเด็นปัญหาการขนส่งสาธารณะของเชียงใหมนี้มากมาย แต่ก็ยังไม่มีการดำเนินการที่เป็นรูปธรรมเพื่อนำคำแนะนำไปพัฒนาอย่างเป็นระบบ ภายในเทศบาลเมืองเชียงใหม่ทั้งสี่แห่ง และตัวแทนภาคเอกชนนั้นพยายามตอบสนองความต้องการด้วยการใช้รถตุ๊กตุ๊ก รถสองแถว และรถแท็กซี่ ซึ่งกลับทำให้มลภาวะทางอากาศทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น จากข้อมูลของกระทรวงพลังงานระบุว่า ภาคการขนส่งและภาคการผลิตเป็นผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ที่สุด โดยใช้พลังงานไฟฟ้าถึง 75% ของประเทศ ดังนั้นนี่จึงเป็นพื้นที่ที่ดีในการพัฒนาปรับปรุง
จากความหนาแน่นของจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น ความจำเป็นของการขนส่งสาธารณะที่ประหยัดและยั่งยืนก็ได้เติบโต หนี้ของผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้นกับรายรับที่นิ่งเท่าเดิม รวมถึงรายได้ที่ลดลงจากการทองเที่ยวยิ่งทำให้เรื่องนี้เลวร้ายยิ่งขึ้นเมื่อเจ้าของรถยนต์ยังต้องผ่อนรถกันอยู่ การผสมผสานของโครงการ “รถไฟฟ้ารางเบา” รถโดยสารสาธารณะ และเลนจักรยานเป็นการตอบโจทย์อย่างเช่นในฮ่องกง เชียงใหม่มีความต้องการโครงการเช่นนี้แต่ยังขาดผู้นำและผู้ริเริ่มการพัฒนาการขนส่งที่ประหยัดและยั่งยืนเช่นนี้
ตัวชี้วัด (เราวัดอะไร)
- ความหนาแน่นของการจราจรและการใช้ยานพาหนะที่ลดลง
- จำนวนกิโลเมตรของเส้นทางขนส่งสาธารณะที่มี
- จำนวนคนที่ใช้เส้นทางการขนส่งเหล่านี้
- เปอร์เซ็นต์รถขนส่งพลังงานหมุนเวียนสาธารณะ
- จำนวนของสถานีชาร์จรถไฟฟ้า
- จำนวนโครงการเช่าใช้จักรยาน
ใครกำลังจัดการกับเรื่องนี้
ติดตามข้อมูลเร็ว ๆ นี้
ทำไมการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนจึงมีความสำคัญต่อความยั่งยืนของเชียงใหม่
During the last two decades a necessary emerging trend has evolved in big and small businesses throughout the world. That trend or evolution is toward becoming more sustainable in their business operations and building infrastructure. From designing ecologically green buildings (LEED Certification) sourcing of (renewable) raw materials, to sustainable processing and biodegradable packaging, to product usage and disposal/recycling. Businesses realize they can save costs and make more money by becoming more sustainable in all aspects of their business. Business, government and societal leaders across the globe acknowledge that our old polluting industrial ways are not sustainable due to inefficient and wasteful, polluting practices and the devastation done to both the environment, human beings and all other species. For businesses to become long-lasting and profitable, they will ultimately have to adapt and become sustainable in all aspects of their operations or risk becoming illegal or going out of business.
สถานการณ์ที่เชียงใหม่เป็นอย่างไร
วิสัยทัศน์ในการสร้างโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียวของประเทศไทยรวมถึงอนาคตที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีนั้นมีความสอดคล้องกับเศรษฐกิจของเชียงใหม่ที่มีโอกาสในการพัฒนา เมื่อดูจากวิสัยทัศน์ด้านสถิติระดับประเทศนี้ซึ่งตรงกับเป้าหมายการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ จังหวัดเชียงใหม่มีจุดแข็งและทักษะมากมายเช่นตำแหน่งที่ตั้งเชิงกลยุทธ์และสภาพภูมิอากาศ ความสามารถในการปลูกพืชมูลค่าสูงหลากหลายชนิด การดำเนินการริเริ่มที่มีอยู่แล้ว เช่น ประกาศนียบัตรใบไม้เขียวและตรามาตรฐาน Organic Thailand รวมถึงการมุ่งเน้นการพัฒนาภาคความเป็นอยู่ จะสามารถช่วยให้จังหวัดเชียงใหม่กลายเป็นเมืองวิถีสุขภาพยั่งยืนในทางปฏิบัติ โดยขึ้นกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 รวมกับวิสัยทัศน์ที่มุ่งสู่โมเดลเศรษฐกิจ BCG ทำให้เชียงใหม่สามารถเป็นเมืองที่ยั่งยืนอย่างแท้จริงในทุก ๆ ทาง เพื่อให้ฝันนี้เป็นจริง จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพัฒนา dashboard แดชบอร์ดความยั่งยืน 20 ด้านให้แข็งแกร่งเพื่อพัฒนาธุรกิจที่ยั่งยืน จนกลายเป็นตัวอย่างของนครแห่งสุขภาพที่ดีและความยั่งยืนแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ตัวชี้วัด (เราวัดอะไร)
- จำนวนโรงแรม คาเฟ่ ร้านอาหาร ธุรกิจที่ได้รับประกาศนียบัตรใบไม้เขียว
- Number of LEED Certified buildings.
- การปฏิบัติการตามใบรับรอง / ตัวชี้วัดความยั่งยืนสำหรับธุรกิจสีเขียวในเชียงใหม่ เชื่อมโยงกับเกียรติบัตรใบไม้เขียว
- Implement an Organic Food Safety standard.
- การดำเนินการตามมาตรฐานและแนวปฏิบัติด้านน้ำและพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
- การใช้ระบบคัดแยก / รีไซเคิลขยะ
- จำนวนบรรจุภัณฑ์อาหารแบบโฟมหรือพลาสติกสำหรับซื้อกลับบ้านและตามซูเปอร์มาร์เก็ต เทียบกับบรรจุภัณฑ์ที่ได้จากพืช
- ยุติการขายภาชนะโฟมและพลาสติกที่ไม่ย่อยสลายทางชีวภาพจากร้านค้าปลีกเช่น ร้านหยก แมคโคร เป็นต้น
ใครกำลังจัดการกับเรื่องนี้
ติดตามข้อมูลเร็ว ๆ นี้
สังคม


ทำไมการศึกษาที่ยั่งยืนจึงมีความสำคัญต่อความยั่งยืนของเชียงใหม่
การศึกษาเป็นหัวใจของการพัฒนาที่ยั่งยืนและยังเป็นหัวใจสำคัญของเป้าหมายการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติด้วย ผู้ที่ใช้ชีวิตอย่างยั่งยืนนั้น จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้เพื่อหาเครื่องมือ ทักษะ คุณค่า และการจัดการที่จำเป็นในการสร้างและรักษาสังคมที่ยั่งยืน องค์การยูเนสโกให้คำนิยามคำว่าการศึกษาที่ยั่งยืนว่าเป็น “การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” (ESD) ที่สอดแทรกกุญแจสำคัญของปัญหาการพัฒนาที่ยั่งยืนเข้าไปในการเรียนการสอน รวมถึงวิถีชีวิตที่ยั่งยืน หลักปฏิบัติ สิทธิมนุษยชน ความเท่าเทียมทางเพศ การส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งสันติภาพและการไม่ใช้ความรุนแรง พลเมืองโลกและการรู้คุณค่าของความหลากหลายทางวัฒนธรรมและการมีส่วนร่วมของวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องใช้วิธีการเรียนการสอนที่มีความเปลี่ยนแปลงและการมีส่วนร่วมที่ผลักดันและส่งเสริมผู้เรียนให้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและลงมือทำเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ดังนั้น การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนจึงส่งเสริมความสามารถในด้านการคิดวิเคราะห์ ความฉลาดทางอารมณ์ การจินตนาการถึงอนาคตและตัดสินใจในการทำงานร่วมกัน
สถานการณ์ที่เชียงใหม่เป็นอย่างไร
เมืองต่าง ๆเป็นศูนย์กลางสำคัญอย่างหนึ่งของความคิดและการขับเคลื่อนเพื่อการศึกษา ทำให้รัฐบาลและเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น สามารถยกระดับ ESD หรือการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนให้เป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 เป้าหมายและเพื่อให้ตัวเมืองรวมถึงชุมชนมีส่วนร่วม มีความปลอดภัย ยืดหยุ่นและยั่งยืนมากขึ้น การศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตนั้นเป็นส่วนประกอบสำคัญของชีวิตเมืองในทุกวันนี้ ดังนั้นแล้ว ชุมชนเมืองอย่างเช่นเชียงใหม่สามารถสร้างสังคมที่ยั่งยืนและสามัคคีได้เพื่อเป็นพื้นฐานของความยุติธรรมทางสังคม ความยืดหยุ่นของระบบนิเวศ ผลผลิตทางเศรษฐกิจ การมีส่วนร่วมทางการเมืองและวัฒนธรรมอันรุ่งเรือง
การเรียนรู้ที่จะอยู่ด้วยกันอย่างยั่งยืนในเมืองและชุมชนของพวกเรานั้นเป็นการศึกษาที่ท้าทายในยุคของเราเป็นอย่างมาก บางพื้นที่ได้จัดตั้งตัวอย่างพลเมืองเพื่อติดตามในขณะที่คนอื่นกำลังเข้าถึงผ่านโปรแกรมที่ให้ความรู้หรือเสนอโอกาสในการมีส่วนร่วม เป้าหมายของพวกเราในเชียงใหม่นี้คือการสร้างวงจรคุณธรรมด้วยพลเมืองที่ได้รับการศึกษาที่จะนำพาเพื่อนและครอบครัวของตนไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน สร้างโมเมนตัมเพื่อการเปลี่ยนแปลงและยิ่งใหญ่ที่ส่งผลกับชีวิตในเมือง ส่วนหนึ่งที่สามารถเริ่มการเปี่ยนแปลงอันสำคัญเช่นนี้ได้ก็คือผ่านการศึกษาแก่คนรุ่นใหม่ ให้รู้จักความยั่งยืนและให้รู้ว่าการใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพดีและยั่งยืนนั้นคืออะไร การศึกษานี้ควรเป็นส่วนหนึ่งของทุกหลักสูตรในทุกสถานศึกษา
ตัวชี้วัด (เราวัดอะไร)
- ขอบเขตที่ (i) การศึกษาความเป็นพลเมืองโลกและ (ii) การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นสิ่งสำคัญในทุกระดับในหลักสูตรของโรงเรียนเชียงใหม่
- จำนวนโรงเรียนที่สอดแทรกความยั่งยืน ความเข้าใจด้านนิเวศวิทยา วิถีชีวิตแบบยั่งยืนและการพัฒนาอย่างยั่งยืนในหลักสูตร
- จำนวนโรงเรียนที่มีสอดแทรกเรื่องการเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม การออกแบบและเทคโนโลยีเชิงนิเวศ และนวัตกรรมเข้าไปในหลักสูตรการเรียนการสอน
ใครกำลังจัดการกับเรื่องนี้
ติดตามข้อมูลเร็ว ๆ นี้
ทำไมการอนุรักษ์มรดำทางวัฒนธรรมจึงมีความสำคัญต่อความยั่งยืนของเชียงใหม่
จังหวัดเชียงใหม่เป็นเมืองที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์และมรดกวัฒนธรรมที่ยัง “มีชีวิต” อยู่จนถึงปัจจุบัน เราใช้คำว่า “มีชีวิต” เพราะมรดกทางวัฒนธรรมนั้นไม่ใช่สิ่งที่คงที่และยึดติดในอดีตเท่านั้น แต่ยังเป็นสิ่งที่ถ่ายทอดอยู่ตลอดเวลา เชื่อมต่อกับอดีต ปัจจุบันและอนาคตเข้าด้วยกัน อีกทั้งยังครอบคลุมสิ่งที่สืบทอดมาจากอดีตที่ถือว่ามีคุณค่าและมีความสำคัญในปัจจุบัน ซึ่งบุคคลและชุมชนต่างก็ต้องการถ่ายทอดไปยังคนรุ่นหลัง ภาคเหนือของประเทศไทย จังหวัดเชียงใหม่ ล้านนาและรากวัฒนธรรมพื้นเมือง ประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม สิ่งทอ ศิลปะและความเชื่อเป็นสิ่งที่ทำให้เราโดดเด่นไม่เหมือนใครและ “น่าอยู่”
แนวทางขององค์การยูเนสโกสำหรับมรดกโลกทางวัฒนธรรมได้ระบุว่าเมืองนั้นต้องมีเงื่อนไขซึ่ง “ความสมบูรณ์และ/หรือความถูกต้อง” และ ”ต้องมีการคุ้มกันที่เพียงพอและระบบการจัดการเพื่อให้แน่ใจว่าได้รับการปกป้อง” แม้ว่าแหล่งมรดกจากก่อนปี พ.ศ.2400 จะมีให้เห็นอยู่ไม่มากนัก แต่ผังเมืองดั้งเดิมก็ยังไม่เปลี่ยนไป และยังมีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่สำคัญอยู่มากมายกระจัดกระจายตามสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในเมือง ให้ความรู้สึกถึงอดีตที่ฝังอยู่ในชีวิตประจำวัน แม้ว่าสิ่งนี้จะถูกท้าทายมากขึ้นจากแรงกดดันของโลกาภิวัตน์ การพัฒนาทางเศรษฐกิจและบรรทัดฐานทางสังคมที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน เพราะความกดดันเหล่านี้เป็นตัวแปรสำคัญที่ชาวเชียงใหม่รวมไปถึงธุรกิจชุมชนและรัฐบาลในท้องถิ่นต่างร่วมมือกันเพื่อรักษาเอกลักษณ์ของเมืองเราและรักษาสิ่งปลูกสร้างมรดกวัฒนธรรมทั้งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ให้คงอยู่ เชื่อมโยงจากอดีตสู่ปัจจุบันและอนาคตข้างหน้า นโยบายเมืองแบบมีส่วนร่วมและบูรณาการพร้อมการลงทุนที่เพียงพอเพื่อปกป้องและส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานทางวัฒนธรรมและสถานที่พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมและภาษาพื้นเมือง เช่นเดียวกับความรู้ทางวัฒนธรรมและศิลปะ ในขณะเดียวกันการทำนุบำรุงและฟื้นฟูเมืองของเราเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมทางสังคมและการใช้สิทธิพลเมืองก็ควรได้รับการพิจารณาอย่างมาก
สถานการณ์ที่เชียงใหม่เป็นอย่างไร
การรับรู้ถึงการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนของเมือง ด้วยมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ (เช่น สถานที่ปลูกสร้าง วัด และอื่น ๆ) และการแสดงออกทางวัฒนธรรม (เช่นงานฝีมือ เทศกาลประเพณีต่าง ๆ) ล้วนมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อความยั่งยืน เพราะการทำนุบำรุงรักษามรดกทางวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงใหม่นั้นสามารถดึงดูดการท่องเที่ยวและการลงทุน และอาจจะทำให้มีรายได้แหล่งใหม่และการสร้างงานรุ่นใหม่ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ การทำงานร่วมกันก็ยังสามารถพบเห็นได้ในระบบนิเวศทางวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงการพัฒนาของผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ นอกจากนี้มรดกทางวัฒนธรรมของเชียงใหม่ยังทำให้เชียงใหม่เป็นเมือง “น่าอยู่” และอยู่แบบม่วนอกม่วนใจ๋ได้อีกด้วย
ตัวชี้วัด (เราวัดอะไร)
- จำนวนของสิ่งปลูกสร้างที่ขึ้นทะเบียนเป็นสถานที่ทางวัฒนธรรม/ประวัติศาสตร์
- จำนวนของช่างฝีมือเก่าแก่ (บุคคลหรือกลุ่มคน) ที่ยังทำงานอยู่ (ลงทะเบียน) โดยไม่จำกัดอายุ / เพศ
- จำนวนของแพทย์/องค์กรของแพทย์แผนโบราณ/ผู้เชี่ยวชาญธรรมชาติบำบัด
- หลักสูตรหรือการศึกษาสำหรับทักษะช่างฝีมือโบราณ
- หลักสูตร/โรงเรียน/ร้านค้าปลีก/ธุรกิจชุมชนที่เกี่ยวกับประเพณีการแพทย์ท้องถิ่น
ใครกำลังจัดการกับเรื่องนี้
ติดตามข้อมูลเร็ว ๆ นี้
ทำไมความหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรมจึงมีความสำคัญต่อความยั่งยืนของเชียงใหม่
หลายเมืองในเอเชียในปัจจุบันนั้นกำลังเผชิญความเปลี่ยนแปลงประชากรในด้านการไหลเวียนและกระแสการอพยพ สิ่งเหล่านี้มีการเคลื่อนไหวระดับใหญ่และถูกชักจูงโดยนักท่องเที่ยว การศึกษาที่เป็นสากล โลกาภิวัตน์และการแปลงห่วงโซ่อุปทานธุรกิจเป็นดิจิทัล เมืองใหญ่ ๆ อย่างเซี่ยงไฮ้ ฮ่องกง กรุงเทพฯ โฮจิมินห์ กัวลาลัมเปอร์ สิงคโปร์ ภูเก็ตและเชียงใหม่ เผชิญกับแนวโน้มนี้ในระดับที่แตกต่างกัน (เช่น คนทำงานแบบดิจิทัลจากที่ใดก็ได้บนโลก) โอกาสในการสร้างความเป็นสากลของประชากรในเมืองและวัฒนธรรมเพื่อสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นเชิงบวกนั้นเป็นเพียงจุดเริ่มต้นที่น่ายกย่อง สำหรับบางเมืองได้ถูกดำเนินการโดยการออกแบบ (อย่างเช่นนโยบายรัฐบาลของสิงคโปร์) และเมืองอื่น ๆ อีกมากมายตามสถานการณ์ (เช่น เชียงใหม่) แนวโน้มนี้ได้ทำให้บางเมืองมีวัฒนธรรมที่ดีขึ้น ในขณะเดียวกันก็ได้ผสมผสานเศรษฐกิจของพวกเขากับแหล่งใหม่ ๆ ทั้งจากเงินลงทุนและแนวคิดของผู้ประกอบการที่มีความสามารถ
จะเป็นการดีหากเมืองใหญ่อย่างเชียงใหม่นั้นตระหนักถึงบทบาทของประชากรที่หลากหลายที่ยกระดับชื่อเสียงของเมืองไปสู่ภูมิภาค (เช่นในอาเซียนหรือทวีปเอเชีย) และไปสู่สากล ซึ่งจะสามารถเติมเต็มทักษะที่ขาดหายไป ดึงดูดการลงทุน พัฒนาความสัมพันธ์กับตลาดใหม่และเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีกับทุกคนที่อาศัยอยู่ในตัวเมือง เมืองระดับโลกที่ผลักดันให้เกิดการย้ายถิ่นฐาน การรวมตัวและการอยู่ร่วมกันของประชาชนหลากหลายเชื้อชาติไปสู่เศรษฐกิจและชีวิตสาธารณะ ตอนนี้กำลังมีจำนวนเพิ่มขึ้นโดยถูกอ้างอิงว่าเป็นเมืองเปิด (British Council, 2010) ในรูปแบบที่ว่า “ความเปิดกว้าง” เป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนนครเหล่านี้
สถานการณ์ที่เชียงใหม่เป็นอย่างไร
เราเชื่อว่าหากเชียงใหม่เป็นสังคมที่หลากหลายและเป็นเมืองเปิด ก็จะประสบความสำเร็จยิ่งขึ้นในด้านการดึงดูดผู้คนที่มีแนวคิดใหม่ ๆ และมีความสามารถ ผู้คนที่อยากจะมีส่วนร่วมกับสังคมไทยและอยากมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองในทุก ๆ ด้าน ในเชิงเศรษฐกิจ ความสร้างสรรค์ สังคม และสิ่งแวดล้อม จนสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตโดยรวมและความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของเมืองเชียงใหม่ได้ เพื่อให้เป็นสังคมเมืองที่มีส่วนร่วมและความหลากหลายมากขึ้น ผู้นำพลเมืองและการเมืองเองก็ควรจะเล็งเห็นถึงประโยชน์แเหล่านี้และอำนวยความสะดวกด้านสถานที่ที่มีโครงสร้างเอื้ออำนวยต่อการสร้างสังคมเช่นนี้
ตัวชี้วัด (เราวัดอะไร)
- จำนวนของประชากรชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ต่อปี (โดยแบ่งจากสัญชาติ) และที่เป็นสัดส่วนกับพลเมืองในจังหวัดเชียงใหม่ต่อปี
- จำนวนของสมาคม กลุ่มคน องค์กรและ/หรืออีเวนต์ที่ยังมีการดำเนินการอยุ่ ที่ให้การสนับสนุนการรวมชาวไทยและชาวต่างชาติให้มาอยู่ร่วมเป็นชุมชนเดียวกัน
- จำนวนของแรงงานข้ามชาติ (ที่มีใบอนุญาตทำงาน) ที่ทำงานในจังหวัดเชียงใหม่
ใครกำลังจัดการกับเรื่องนี้
ติดตามข้อมูลเร็ว ๆ นี้
ทำไมทุนทางสังคมจึงมีความสำคัญต่อความยั่งยืนของเชียงใหม่
ทุนทางสังคมเป็นแนวคิดที่เชื่อมโยงกับการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทของเมืองและชุมชน โดยนัยของทุนทางสังคมนั้นมีแนวคิดที่เชื่อมโยงกัน เช่น เครือข่ายสังคม การพึ่งพาซึ่งกันและกัน จิตวิญญาณของชุมชน ความไว้วางใจและความมุ่งมั่นสู่เป้าหมายที่มีร่วมกัน ทุนทางสังคมจะถูกสร้างขึ้นได้เมื่อผู้คนสร้างสัมพันธ์ร่วมกันภายใต้บริบทเดียวกัน เช่นครอบครัว องค์กรหรือชุมชน เป็นชุดบรรทัดฐานของระบบสังคมที่พัฒนาระดับของความร่วมมือสมาชิกในชุมชน และตอนนี้ก็เป็นที่ทราบกันในระดับโลกว่าชุมชนที่ยั่งยืนนั้นขึ้นอยู่กับการสร้างทุนทางสังคมที่ดี
แนวคิดของทุนทางสังคมนั้นมีศักยภาพอย่างมากในการเน้นความสำคัญกับปัจจัยทางสังคมและผลประโยชน์ของการร่วมมือกัน แนวคิดนี้ชี้ให้เห็นโครงสร้างของปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เหนือกว่าแรงจูงใจในการทำกำไร พุ่งความสำคัญกับสิทธิมนุษยชนและความเป็นอยู่ที่ดี และความสำคัญรวมถึงผลประโยชน์ของสังคมที่เกี่ยวข้องกันและเสริมสร้างพลังกัน อีกทั้งช่วยเปลี่ยนปัญหาอัตตาส่วนบุคคล การแข่งขัน ความโลภและการเอารัดเอาเปรียบ และยังเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้การพัฒนาความยั่งยืนนั้นสำเร็จอีกด้วย!
สถานการณ์ที่เชียงใหม่เป็นอย่างไร
ในบริบทและปณิธานของเชียงใหม่ ความท้าทายที่จะบรรลุการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น ทุนทางสังคมนั้นเป็นหัวใจสำคัญ มีกลุ่มคน บุคคลและองค์กรมากมายที่มีความปรารถนา มีทักษะความสามารถและพร้อมเสียสละที่จะทำงานบนปัญหาที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับอนาคตที่ยั่งยืนของพวกเรา อย่างไรก็ตาม บางครั้งเพื่อเร่งกระบวนการและการเปลี่ยนแปลง เราจำเป็นต้องเน้นหนักไปที่การเพิ่มทุนทางสังคมระหว่างกลุ่มคนเหล่านี้เพื่อไปสู่เป้าหมายร่วมกันของความยั่งยืน เพราะต้องการการร่วมมือกัน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายฝ่าย/แนวทางระบบที่เชื่อมต่อกันหลายมุมมอง ความไว้วางใจ การสื่อสาร การร่วมมือและเครือข่ายเป็นเชื้อเพลิงที่สำคัญที่จะทำให้สิ่งนี้เกิดขึ้นได้ ตัวอย่างที่เราเห็นในช่วงนี้จากการร่วมมือกันตอบสนองจากกลุ่มคนที่แตกต่างกันที่มีต่อปัญหาหมอกควันและโควิด 19 นั้นเป็นตัวชี้วัดที่ดีว่าเชียงใหม่นั้นมีประสิทธิภาพกับทุนทางสังคมที่ดี
ตัวชี้วัด (เราวัดอะไร)
- ดัชนีทุนทางสังคมของชุมชน
ใครกำลังจัดการกับเรื่องนี้
ติดตามข้อมูลเร็ว ๆ นี้
ทำไมความปลอดภัยสาธารณะและความปลอดภัยส่วนบุคคลจึงงมีความสำคัญต่อความยั่งยืนของเชียงใหม่
ความปลอดภัยสาธารณะและความปลอดภัยส่วนบุคคลเป็นสองแง่มุมสำคัญต่อการอยู่อาศัยของสภาพแวดล้อมเมืองที่มีประชากรเป็นจำนวนมาก สำหรับคำว่า เชียงใหม่น่าอยู่นั้น เราให้คำจำกัดความสิ่งนี้ว่าเป็นความปลอดภัยจากอาชญากรรม (รู้สึกปลอดภัยและได้รับการดูแล) และความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับถนนในเชียงใหม่เช่นเดียวกัน
ความกลัวจากอาชญากรรมนั้นกลายเป็นหนึ่งในปัญหาที่สำคัญของเมืองใหญ่ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย โชคดีที่เชียงใหม่ไม่มีอาชญากรรมรวมถึงการข่มขืนในระดับที่สูง แม้จะเคยเกิดเหตุมาแล้วก็ตาม ส่วนอาชญากรรมที่ไม่รุนแรงอย่างเช่นการฉ้อโกง การขโมยนั้นมีแพร่หลายกว่า แต่ก็ถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับกรุงเทพฯ อย่างไรก็ดี สิ่งที่ข้อมูลบ่งบอกและสิ่งที่ประชาชนรู้สึกอาจไม่สัมพันธ์กันเสมอไป ความกลัวจากอาชญากรรมและความรู้สึกไม่ปลอดภัยในพื้นที่สาธารณะนั้นสร้างกำแพงให้กับการมีส่วนร่วมกับชีวิตสาธารณะและลดคววามน่าอยู่ของเมืองไป
การออกแบบที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นหัวใจสำคัญในการจัดหาสถานที่ให้ผู้คนที่จะใช้ชีวิตโดยลดผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมและสร้างอาณาบริเวณที่ปลอดภัยมากขึ้นผ่านการออกแบบสิ่งปลูกสร้างที่ดี เนื่องจากจะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกทุกคนในชุมชน
สถานการณ์ที่เชียงใหม่เป็นอย่างไร
ความปลอดภัยบนท้องถนนในเชียงใหม่เป็นอีกหนึ่งแง่มุมของความยั่งยืนที่พวกเราให้ความสนใจ องค์การอนามัยโลกประเมินว่ามีคนเสียชีวิตประมาณ 22,000 คนต่อปีหรือมากกว่าในอุบัติเหตุบนท้องถนนที่ประเทศไทย เป็นถนนที่อันตรายที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โชคไม่ดีที่จังหวัดเชียงใหม่ถูกจัดอันดับให้อยู่ในอันดับที่เกือบสูงที่สุดในด้านอุบัติเหตุและการเสียชีวิตบนท้องถนน
การไม่สวมใส่หมวกกันน็อคและไม่คาดเข็มขัดนิรภัย การขับรถด้วยความเร็ว การขับขี่ขณะมึนเมา และการเพิกเฉยต่อความปลอดภัยของเด็กเป็นความเสี่ยงใหญ่หลวงต่อความปลอดภัยบนท้องถนน ประเทศไทยได้รับการยอมรับว่ามีกฎหมายที่เพียงพอต่อการดำเนินการเกี่ยวกับการขับขี่และการละเมิดความปลอดภัยทางถนน แต่ปัญหาที่มีมาเป็นเวลานานแล้วก็คือ “การศึกษาเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมาย”
การให้การศึกษากับทุกอายุและระดับนั้นเป็นหนทางที่ชัดเจนในการเปลี่ยนแปลง ยิ่งไปกว่านี้ การบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดก็เป็นพื้นฐานสำคัญ ไม่เพียงแต่จะมีการตรวจสอบการสวมใส่หมวกกันน็อคและการคาดเข็มขัดนิรภัยตามท้องถนนแล้ว ยังต้องมั่นใจว่าตำรวจจราจรเองก็บังคับใช้กฎหมายอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการฝ่าไฟแดง การขับรถผิดเลน การไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย และการขับขี่ในขณะมึนเมา
ตัวชี้วัด (เราวัดอะไร)
- อัตราอาชญากรรมจากประเภท/ต่อปี
- คดีที่กระทำการรุนแรงต่อผู้หญิง (ข่มขืน ทำร้ายร่างกาย ฆาตกรรม) ต่อปี
- คดีอาชญากรรมที่ประเภทลักขโมย โจรกรรม การลักพาตัวต่อปี
- จำนวนของอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับสิ่งอำนวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะต่อปี
- คดีความรุนแรงในครอบครัว
- จำนวนของผู้ที่ขับขี่ขณะมึนเมาที่ถูกรายงานต่อปี
- จำนวนของอุบัติเหตุและการเสียชีวิตบนท้องถนนของยานยนต์แบ่งตามประเทภ (รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ จักรยาน) ต่อปี
ใครกำลังจัดการกับเรื่องนี้
ติดตามข้อมูลเร็ว ๆ นี้
ความเป็นอยู่


ทำไมสุขภาพกายจึงมีความสำคัญต่อความยั่งยืนของเมืองเชียงใหม่
สุขภาพร่างกายของมนุษย์เป็นมิติหนึ่งที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในสังคมของเรา โดยการมีสุขภาพกายที่ดีนั้นขึ้นอยู่กับการควบคุมสิ่งต่าง ๆ ของแต่ละบุคคลด้วย นอกจากสภาพแวดล้อมภายนอกของพื้นที่อาศัย ชุมชนและ/หรือเมืองแล้ว ปัจจัยอย่างการเลี้ยงดูบุตร การเป็นแบบอย่างและกระทั่งปัจจัยทางพันธุกรรมก็ยังส่งผลต่อสภาพร่างกายไม่แพ้กัน เมื่อมีการให้ความสำคัญต่อวัฒนธรรมและวิถีชีวิตด้านสุขภาพกายแล้ว เมืองและประเทศชาติก็จะหมดเงินไปกับการสาธารณสุขน้อยลงด้วยเนื่องจากร่างกายและระบบภูมิคุ้มกกันแข็งแรงขึ้น มีงานวิจัยหลายชิ้นกล่าวไว้ว่าวัฒนธรรมที่กระตุ้นให้คนตระหนักถึงสุขภาพร่างกาย
สถานการณ์ที่เชียงใหม่เป็นอย่างไร
เพื่อเป็นการส่งเสริมการมีสุขาพกายที่ดีและการออกกำลังกาย กิจกรรมทางกีฬาจึงเป็นเรื่องพื้นฐานที่สำคัญ จังหวัดเชียงใหม่มีอีเวนต์กีฬาและกิจกรรมกลางแจ้งตามโรงเรียน มหาวิทยาลัย ยิม และพื้นที่สาธารณะ โดยมีพื้นที่ยอดนิยมสามแห่งสำหรับกิจกรรมกีฬากลางแจ้ง ได้แก่ สวนสาธารณะบวกหาด อ่างแก้ว และสนามกีฬา 700 ปี
อย่างไรก็ตาม คุณภาพอากาศ น้ำประปาดื่มได้ โภชนาการและการขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเป็นปัจจัยหลักสำคัญสี่อย่างในการส่งเสริมสุขภาพกายทั้งสำหรับผู้ใหญ่และเด็ก การขาดโภชนาการที่ดีเพิ่มระดับความเสี่ยงในการเกิดโรคที่สามารถป้องกันได้เช่น โรคเบาหวานและโรคหัวใจ ส่วนโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ หอบหืดและโรคทางปอดอื่น ๆ มีความเกี่ยวข้องกับคุณภาพอากาศต่ำของเมือง อันเกิดจากการเผาป่าในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติ การเผาชีวมวลทางการเกษตรทั้งภายในและรอบเมือง
การแก้ไขปัญหาด้านคุณภาพอากาศและการทำงานเรื่องทางเลือกอาหารออร์แกนิกที่ดีต่อสุขภาพนั้นอาจช่วยให้เชียงใหม่เป็นผู้นำด้านอีเวนต์กีฬานานาชาติต่าง ๆ ในภูมิภาคได้เนื่องจากสภาพอากาศและภูมิประเทศเหมาะสม การเป็นเจ้าภาพอีเวนต์กีฬานานาตาชาติสำหรับนักเดิน นักวิ่ง นักปั่นจักรยานในเอเชียสามารถเป็นแหล่งรายได้ของอุตสาหกรรมโรงแรม ร้านอาหาร และดึงดูดนักท่องเที่ยวด้านกีฬาได้อย่างดี
ตัวชี้วัด (เราวัดอะไร)
- จำนวนเคสผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ (เช่น หอบหืด หลอดลมอักเสบ) ตามอายุ
- อัตราการเสียชีวิตจากมลพิษทางอากาศในสภาพแวดล้อม
- จำนวนเคสผู้ป่วยโรคเบาหวาน หัวใจวาย มะเร็งลำไส้ตรง และโรคอ้วน
- ร้อยละของประชากรที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกิน
- จำนวนการเสียชีวิตของทารก / ภาวะแคระแกร็นจากทุพโภชนาการ
- การบาดเจ็บ/เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน
- ระดับการออกกำลังกายต่อคน
- การมีส่วนร่วมของท้องถิ่นในอีเวนต์กีฬาและจำนวนอีเวนต์กีฬาต่อปี
- จำนวนผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำ โดยเฉพาะในเด็ก
- จำนวนอีเวนต์กีฬาระดับบนานาชาติหรือระดับภูมิภาคที่เชียงใหม่เป็นเจ้าภาพ
ใครกำลังจัดการกับเรื่องนี้
ติดตามข้อมูลเร็ว ๆ นี้
ทำไมสุขภาพจิตจึงมีความสำคัญต่อความยั่งยืนของเมืองเชียงใหม่
ทำไมสุขภาพจิตจึงมีความสำคัญต่อความยั่งยืนของเมืองเชียงใหม่ สุขภาพจิตเป็นตัวชี้วัดสำคัญอย่างหนึ่งที่แสดงถึงคุณภาพชีวิตผ่านความสัมพันธ์ของเรากับครอบครัว สังคม และสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน ระดับสุขภาพจิตสามารถเป็นตัวบ่งชี้ได้ว่าสังคมและวัฒนธรรมนั้นกำลังประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว เพื่อให้ชีวิตเป็นสุขอย่างมั่นคง การมีสุขภาพจิตที่ดีไปพร้อมความสัมพันธ์ที่ดีและกลมเกลียวจึงเป็นเรื่องสำคัญ บุคคลที่เป็นแบบอย่างที่ดีในชุมชนจำเป็นต้องเป็นแบบอย่างให้แก่คนรุ่นใหม่ในด้านของพฤติกรรมทางจริยธรรมและศีลธรรมอันดี แบบอย่างที่ดีต้องช่วยเหลือและชี้แนะคนรุ่นใหม่ให้ออกแบบชีวิตที่มีความสุขและประสบความสำเร็จ ชีวิตในความเป็นจริงเต็มไปด้วยเรื่องเครียดมากมาย และอาจกำลังเครียดขึ้นไปอีกเนื่องจากค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้น รายได้เท่าเดิมหรือลดลง และอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น ทั้งหมดนี้อาจเป็นสาเหตุของปัญหาทางสุขภาพจิตได้ทั้งสิ้น แต่ก็สามารถจัดการได้ไปพร้อมกันทั้งชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผ่านการพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม การสร้างความหลากหลายของเศรษฐกิจท้องถิ่นและการพัฒนาทุนทางสังคมอย่างมีเป้าหมาย [อีเวนต์ชุมชน การให้ความร่วมมือในท้องถิ่น สปิริตชุมชน ความเชื่อมั่นสาธารณะ]
สถานการณ์ที่เชียงใหม่เป็นอย่างไร
สุขภาพจิตที่ไม่ดีของคนเชียงใหม่มีความเกี่ยวข้องกับระดับการศึกษาและรายได้ แบบอย่างที่ไม่ดี ความรุนแรงในครอบครัว/การข่มขืน โรคซึมเศร้า การเสพติด และการฆ่าตัวตาย ปัญหาเชิงลบบางอย่างที่กล่าวมาอย่างเรื่องความรุนแรงใครอบครัวและการใช้สารเสพติดนั้นเป็นปัญหาที่ถือว่ารุนแรงในชุมชนเนื่องจากเชื้อโควิด19 ครอบครัวได้รับผลกระทบจากปัจจับเหล่านี้ ทำให้ผู้หญิงและเด็กถูกกระทำรุนแรงทั้งทางร่างกายและจิตใจ ในบางกรณี ผู้หญิงและเด็กยังเป็นเหยื่อของการข่มขืนอีกด้วย ความรุนแรงในครอบครัวในเชียงใหม่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงและยังมีการขายเด็กทั้งชายหญิงเพื่อเป็นโสเภณี
การเป็นแบบอย่างที่ไม่ดีของพ่อแม่ เครือข่ายการค้ามนุษย์ในปัจจุบัน การใช้ความรุนแรงและการข่มขืนสตรีและเด็ก การเสพติดแอลกอฮอล์และยาเสพติด ล้วนเป็นหลักฐานที่ชี้ถึงสุขภาพจิตที่แย่และไม่มั่นคง ความรุนแรงที่ถูกกระตุ้นด้วยปัจจัยเหล่านี้ส่งเสริมให้เกิดความชอกช้ำทางจิต อาญกรรม การขาดความปลอดภัยในชุมชน และการเป็นแบบอย่างที่แย่ในด้านจริยธรรมของชุมชน ความรุนแรงทำให้เกิดบาดแผลทางใจของเหยื่อจนกระทั่งโรคทางจิตต่าง ๆ เช่นการเสพติด โรคซึมเศร้า แนวโน้มการฆ่าตัวตาย
ตัวชี้วัด (เราวัดอะไร)
- อัตราการฆ่าตัวตายต่อปีตามกลุ่มอายุ
- จำนวนผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
- อัตราการเสพติดแอลกอฮอล์และยาเสพติด
- จำนวนเคสความรุนแรงในครอบครัวที่มีการรายงาน
- จำนวนผู้ตกงาน
- จำนวนคนไร้บ้าน
ใครกำลังจัดการกับเรื่องนี้
ติดตามข้อมูลเร็ว ๆ นี้
ทำไมความยากจนและความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่จึงมีความสำคัญต่อความยั่งยืนของเชียงใหม่
เป็นเรื่องปกติที่กลุ่มคนยากจนในเมืองใหญ่ของเอเชียจะอาศัยอยู่ในอาคารบ้านเรือนที่สภาพย่ำแย่ เช่น สลัม โดยไม่มีสิทธิ์เป็นเจ้าของที่ดินและไม่สามารถเข้าถึงบริการและสาธารณูปโภคพื้นฐานที่จำเป็นในขณะที่ประชากรอื่นในเมืองคาดหวังว่าตนจะเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้อย่างง่ายดาย ความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางพื้นที่คือแง่มุมสำคัญของความยั่งยืนของเมือง และเป็นผลจากการพัฒนาที่ไม่สมดุล [และการไม่มีการศึกษา/การศึกษาที่ไม่มีคุณภาพในบางกรณี] ความเหลื่อมล้ำทางพื้นที่ในเขตเมืองใหญ่นั้นเชื่อมต่อกับการแจกแจงทรัพยากรหรือความร่ำรวยที่ไม่เท่าเทียมในเขตพื้นที่นั้น ๆ ของเมือง สภาพความเป็นอยู่มีความเหลื่อมล้ำอย่างมากจากความแตกต่างทางด้านปัจจัยด้านสังคมเศรษฐกิจและผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับความยากจนสิทธิและความไม่มีสิทธิ์เสียงทางการเมือง ความยากจนและความเท่าเทียมเชิงพื้นที่เป็นหนึ่งในตัวแปรที่สำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืน จึงควรมีการกำหนดให้เป็นทั้งกระบวนการและผลลัพธ์ ดังนั้นควรพิจารณาทั้งความไม่เท่าเทียมกันของโอกาสและความไม่เท่าเทียมกันของผลลัพธ์ด้วย
สถานการณ์ที่เชียงใหม่เป็นอย่างไร
เท่าที่ผ่านมาการพัฒนาขยายเมืองเชียงใหม่สื่อให้เห็นรูปแบบการพัฒนาที่ไม่มีความเท่าเทียมรวมถึงการเติบโตที่ไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจนโดยเฉพาะในแง่ของความยากจนและความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ จังหวัดเชียงใหม่นั้นถือว่ามีระดับความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่สูงในแง่ของการเข้าถึงบริการและสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานในชุมชนที่มีความยากจน โดยเฉพาะด้านความปลอดภัยของบ้านเรือนและที่อยู่อาศัย บริการด้านสุขภาพไฟฟ้าและน้ำดื่มสะอาด สุขอนามัยการเก็บขยะการศึกษาพื้นที่สีเขียว พื้นที่นันทนาการ ฯลฯ เขตเทศบาลนครเชียงใหม่มีชุมชนสลัมอย่างไม่เป็นทางการราว 62 สลัม แสดงถึงความท้าทายทางด้านสังคมเศรษฐกิจและการเมืองแก่ฝ่ายปกครองจังหวัดเชียงใหม่ในแง่ของการพัฒนาอย่างยั่งยืน หลายปีที่ผ่านมาด้วยความช่วยเหลือขององค์กรไม่แสวงผลกำไรในท้องถิ่นช่วยจัดการให้เทศบาลนครเชียงใหม่จัดตั้งคณะกรรมการด้านการพัฒนาชุมชนและเริ่มสร้าง platform สำหรับการแจ้งปัญหาในเมืองเช่นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัย และการถือครองที่ดิน (เช่นความเท่าเทียมเชิงพื้นที่)
ความเหลื่อมล้ำระหว่างชุมชนและปัญหาความยากจนที่มีมาอย่างยาวนานแสดงถึงลักษณะเมืองร่วมสมัยอย่างจังหวัดเชียงใหม่ มีความเชื่อมโยงกับกระบวนการจัดการและการปกครองที่ขับเคลื่อนการตอบสนองนโยบายที่มีต่อความท้าทายด้านความยั่งยืนของจังหวัด ดังนั้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจและการรับมืออย่างมีประสิทธิภาพต่อความยากจนในชุมชนรวมถึงความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่นั้น ต้องมีการเริ่มพัฒนาและเปลี่ยนแปลงมุมมองและแนวคิดที่สร้างทางออกใหม่ ๆ ที่มากกว่าแนวปฏิบัติมาตรฐาน
ตัวชี้วัด (เราวัดอะไร)
- จำนวนคนไร้บ้านในเมืองเชียงใหม่
- จำนวนคนที่คาบเส้นหรืออยู่ต่ำกว่าระดับความยากจน
- ระดับเงินทุน / จำนวนโครงการที่มุ่งลดความยากจน
- การเข้าถึงการศึกษาและเปอร์เซ็นต์ของเด็กเชียงใหม่ที่ไม่เรียนหนังสือ
- การเข้าถึงห้องน้ำที่มีสุขอนามัย น้ำดื่มสะอาด และโครงการ/สาธารณูปโภค/บริการด้านสุขอนามัยพื้นฐานอื่น ๆ
- เปอร์เซ็นต์ของครัวเรียนในเมืองที่มี/ไม่มีการเข้าถึงบริการพื้นฐาน (เช่น น้ำประปาสะอาด ห้องน้ำถูกสุขลักษณะ และไฟฟ้า)
ใครกำลังจัดการกับเรื่องนี้
ติดตามข้อมูลเร็ว ๆ นี้
ทำไมความปลอดภัยด้านอาหารจึงมีความสำคัญต่อความยั่งยืนของเชียงใหม่
ความปลอดภัยทางด้านอาหารเป็นเรื่องของการปลูกสิ่งที่เป็นอาหาร การเก็บเกี่ยว การเตรียมอาหาร และการเก็บอาหารด้วยมาตรฐานด้านสุขภาพและความปลอดภัยที่เหมาะสมเพื่อลดความเสี่ยงในการเจ็บป่วยของบุคคลและเด็กแรกเกิด ความปลอดภัยด้านอาหารของเชียงใหม่เป็นตัวชี้วัดสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชนรวมถึงแบรนด์ของนครเชียงใหม่ ทุกคนควรสามารถเข้าถึงอาหารสะอาด ถูกหลักโภชนาการและออร์แกนิคได้โดยปราศจากยาฆ่าแมลงและสารก่อมะเร็งอื่น แต่นั่นกลับไม่ใช่เรื่องปกติ เพราะหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อมีการเข้าซื้อกิจการปิโตรเคมี ทำให้การพ่นสารก่อมะเร็งราคาสูง[ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าวัชพืช] เพื่อให้พืชผลที่ปลูกเติบโตนั้นกลายเป็นเรื่องปกติ สารเคมีเหล่านี้มีราคาสูง และหลายคนยังงออกมาโต้เถียงกันถึงการใช้สารเกินความจำเป็นและเป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมและแม่น้ำด้วย นอกจากนี้อัตราความเจ็บป่วยและสุขภาพที่ย่ำแย่ของชุมชนยังมีความสัมพันธ์ต่อการเพิ่มการใช้สารเคมีที่เป็นพิษเพราะสารเคมีเหล่านี้ส่งผลอันตรายต่อร่างกายและระบบภูมิคุ้มกัน
สถานการณ์ที่เชียงใหม่เป็นอย่างไร
เกษตรกร ตลาดและห้างร้านท้องถิ่นต้องผลิตอาหารออร์แกนิกกว่านี้เพื่อให้ได้มาตรฐานด้วยสุขภาพและความปลอดภัย รวมถึงใช้อาหารที่เติบโตจากปิโตรเคมีให้น้อยที่สุดจนถึงไม่ใช้เลย การติดฉลากและการรับรองต้องชัดเจนและเชื่อถือได้ พืชผลเพื่อการอุตสาหกรรมอาจมีราคาต่อตันต่ำกว่า แต่มีสารเคมีและโลหะหนักหลากชนิดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ ทำให้ประชากรเกิดการเจ็บป่วยได้เมื่อบริโภคติดต่อกันเป็นเวลานาน [โรคเบาหวาน มะเร็ง และโรคหัวใจ] สิ่งเหล่านี้สามารถป้องกันได้ด้วยการพัฒนามาตรฐานอาหารของเมืองนี้ให้ดีต่อสุขภาพและปลอดภัยขึ้น ปัจจุบันมีตลาดที่ขายผลผลิตปนเปื้อนสารก่อมะเร็งจำนวนนับไม่ถ้วน แต่มีตลาดออร์แกนิกไม่กี่แห่งให้โรงแรม ร้านอาหารและประชาชนได้เลือกซื้อ
มีโอกาสที่จะ 1. ส่งเสริมความเคลื่อนไหวของฟาร์มออร์แกนิกและสนับสนุนให้เกษตรกรเปลี่ยนไปเป็นการทำฟาร์มแบบออร์แกนิกและเป็นธรรมชาติ รวมถึง 2. เชื่อมต่อกับฟาร์มทั้งหมดที่อยู่รอบเชียงใหม่เข้ากับโรงเรียน โรงพยาบาลและประชาชนผ่านเดลิเวอรี่ ตลาดและซูเปอร์มาร์เก็ตออร์แกนิก ในระยะยาว กลยุทธ์นี้จะช่วยเสริมความเข้มแข็งของเศรษฐกิจและความยืดหยุ่นของทั้งเชียงใหม่และภาคเหนือได้ด้วยการลดการใช้จ่ายไปกับปัจจัยภายนอก หันไปใส่ใจสุขภาพของผู้อยู่อาศัยมากขึ้น และสนับสนุนวิสัยทัศน์และแบรนด์ของเชียงใหม่ให้เป็นหนึ่งในเมืองที่มีสุขภาพดีและยั่งยืนที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ตัวชี้วัด (เราวัดอะไร)
- จำนวนเคสที่เกิดจาก/เกี่ยวข้องกับอาหาร
- เปอร์เซ็นต์ตลาดออร์แกนิกและร้านอาหารออร์แกนิก
- เปอร์เซ็นต์ฟาร์มออร์แกนิกที่ใช้แนวปฏิบัติการทำฟาร์มแบบธรรมชาติ
- คุณภาพน้ำดื่มที่เกี่ยวข้องกับเคสความเจ็บป่วย
- ความปลอดภัยด้านอาหาร อุตสาหกรรมที่ไม่ออร์แกนิกต่ออุตสาหกรรมออร์แกนิก
ใครกำลังจัดการกับเรื่องนี้
ติดตามข้อมูลเร็ว ๆ นี้
ทำไมคุณภาพชีวิตจึงมีความสำคัญต่อความยั่งยืนของเชียงใหม่
บทบาทหน้าที่ที่สำคัญที่สุดของเมืองก็คือมอบ ‘คุณภาพชีวิต’ ที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ให้แก่ประชากรทั้งในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งแต่ละเมืองสามารถทำได้สำเร็จในระดับที่แตกต่างกันไป โดยความสำเร็จนั้นไม่ได้วัดที่ความร่ำรวยของเมืองเสมอไป คุณภาพชีวิตควรแสดงให้เห็นว่ามีการสนองความต้องการและความทะเยอทะยานของมนุษย์มากน้อยเพียงใด และ/หรือ ขอบเขตที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลรับรู้ถึงความพึงพอใจหรือความไม่พึงพอใจในมิติด้านต่าง ๆ ของชีวิต คุณภาพชีวิตคือความเป็นอยู่โดยรวมของบุคคลโดยดูในวกว้างจากหลากมิติ และเป็นตัวชีวัดหลักของความยั่งยืนของชุมชนเมืองใหญ่ด้วย คุณภาพชีวิตมีความเกี่ยวข้องกับระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิตและคุณภาพชีวิตนี้มุกหมายถึงสุขภาพจิต ชีวิตด้านสังคม ชีวิตด้านการงาน และสุขภาพร่างกาย แต่ยังคงหมายถึงสิ่งแวดล้อมสีเขียวและพื้นที่ด้วย ประเด็นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตมักอยู่ในนโยบายการเมือง เนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีว่าระดับคุณภาพชีวิตส่งผลต่อทั้งเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ทางสังคม
ความยั่งยืนมีความเกี่ยวโยงกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผ่านการศึกษา กระบวนการยุติธรรม ความโปร่งใส การมีส่วนร่วมของชุมชนและนันทนาการ ความยั่งยืนเป็นเรื่องของความสามารถของงระบบเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมในการมอบชีวิตที่มีสุขภาพดีและมีความหมายให้แก่ผู้ที่อยู่อาศัยในชุมชน ทั้งปัจจุบันและอนาคต ความยั่งยืนของสังคมเป็นภาวะในชุมชนที่ยกระดับชีวิต โดยอาศัยกระบวนการในชุมชนจึงจะสามารถบรรลุภาวะนี้ได้จากการมีความเท่าเทียมในการเข้าถึงบริการหลักต่าง ๆ (เช่น ด้านสุขภาพ การศึกษา การคมนาคม ที่อยู่อาศัย นันทนาการ ฯลฯ) เช่นเดียวดับความเท่าเทียมระหว่างรุ่น หมายความว่าคนรุ่นต่อไปจะต้องไม่ได้รับผลกระทบจากกิจกรรมของคนในรุ่นปัจจุบัน
สถานการณ์ที่เชียงใหม่เป็นอย่างไร
เมื่อปี 2019 นิตยสาร Monocle ได้จัดตั้งดัชนีชี้วัดเมืองขนาดเล็กและจัดอันดับให้เชียงใหม่อยู่อันดับที่ 15 ของโลกสำหรับคุณภาพชีวิตในเมืองขนาดเล็ก เกณฑ์ชี้วัดที่สำคัญในแบบสำรวจนี้วัดจากหลายปัจจัยเช่นความปลอดภัย/อาชญากรรม ความเชื่อมต่อกับต่างประเทศ สภาพอากาศ/แดด คุณภาพของสถาปัตยกรรม การขนส่งสาธารณะ ความอดทนอดกลั้น ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและการเข้าถึงธรรมชาติ การออกแบบในเมือง สภาพธุรกิจ การพัฒนานโยบายเชิงรุกและการรักษาพยาบาล ปัจจุบันเชียงใหม่ไม่ติดอันดับนี้แล้ว และกำลังเผชิญกับความกดดันมากมาย รวมถึงปัญหาด้านคุณภาพอากาศที่เพิ่มมากขึ้นจากการเผาป่าและขยะด้านสถาปัตยกรรม รวมถึงรายได้ต่อหัวที่ลดลงอย่างมากจากการขาดรายได้ด้านการท่องเที่ยวอันเนื่องมาจากการระบาดของเชื่อโควิด19 การฟื้นคืนสภาพของเชียงใหม่และการฟื้นฟูคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชน ผู้อยู่อาศัยและผู้มาเยือนนั้น ขึ้นอยู่กับภาครัฐ ภาคธุรกิจและภาคประชาสังคม เชียงใหม่เป็นเมืองที่มีศักยภาพสูงที่ต้องการความเป็นผู้นำ การลงทุนและการกระตุ้นที่ถูกต้องเพื่อให้เดินหน้าและสร้างความแข็งแกร่งรวมถึงส่งเสริมผู้อาศัยในจังหวัดเชียงใหม่ โดยเฉพาะผู้ไร้บ้าน ให้สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้
ตัวชี้วัด (เราวัดอะไร)
- โอกาสทางอุดมศึกษาสำหรับทุกคน รวมถึงการศึกษาเรื่องความยั่งยืนสำหรับเยาวชน
- ค่าครองชีพ อาหาร ค่าเดินทาง ค่าไฟฟ้า ค่าที่อยู่อาศัย ความบันเทิง...
- การเข้าถึงธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม นันทนาการในเมือง...
- สาธารณูปโภค ตัวเลือกการเดินทาง อินเทอร์เน็ต…
- ความสะดวกในการประกอบธุรกิจสำหรับทั้งชาวต่างชาติและคนในประเทศ
- การมีส่วนร่วมทางสังคม อีเวนต์เครือข่าย สปิริตชุมชน...
- ความปลอดภัยส่วนตัว ความเชื่อมั่นในสาธารณะ การคอร์รัปชัน...
ใครกำลังจัดการกับเรื่องนี้
ติดตามข้อมูลเร็ว ๆ นี้
สำรวจ
เชียงใหม่
ความคืบหน้า
นครแห่งความสมบูรณ์และยั่งยืน
แดชบอร์ดแห่งความยั่งยืน แสดงรายงานความก้าวหน้าด้านความยังยืน โดยให้สาธารณะเข้าถึงได้ง่าย ที่หน้าแดชบอร์ดจะมีการแสดงข้อมูลแนวโน้มให้เห็นภาพที่ชัดเจนตามชุดตัวชี้วัดความยั่งยืนที่เลือก ที่กำหนดและแยกตามการปรึกษากับทางสาธารณะ แต่ตัวชี้วัดความยั่งยืนคืออะไร ตัวชี้วัดเป็นสัญญาณหรือคำเตือนที่มาจากระบบข้อมูล ซึ่งบอกเราถึงระบบหรือระบบนิเวศหรือพฤติกรรมมนุษย์เป็นอย่างไร กำลังเติบโตก้าวหน้า กำลังนิ่ง กำลังหดตัวลงหรือกำลังตายลง ตัวอย่างเช่นตัวชี้วัดหนึ่งอาจบอกว่าพื้นที่หนึ่ง ๆ เป็นพื้นที่ป่าเท่าไหร่และป่านั้นเป็นป่าที่สมบูรณ์หรือไม่ มีความหลากหลายของพืชนกแมลงและสัตว์ป่าอื่น ๆ มากน้อยเพียงใด เราจำเป็นต้องรู้ในเรื่องนี้เนื่องจากป่ามีหน้าที่หลายอย่างเช่นผลิตออกซิเจน ดูดซับคาร์บอน ทำให้อุณหภูมิหมุนเวียนและช่วยให้เกิดฝน แต่ละตัวชี้วัดเกิดขึ้นจากความเห็นของเราที่มีตรงกันว่าสิ่งใดสำคัญกับเราและเราใส่ใจกับเรื่องใด มนุษย์ไม่ได้อยู่เพียงลำพังในโลกนี้ เราไม่ได้ใช้ชีวิตแยกจากธรรมชาติ แต่เรากลับต้องพึ่งพาธรรมชาติทุกอย่างแม้กระทั่งการมีตัวตนของเราเอง ดังนั้นการศึกษาผลกระทบที่เรามีต่อระบบต่างๆในโลกธรรมชาติจึงเป็นเรื่องที่สำคัญหากเราต้องการเปลี่ยนวิถีของเรา
ข้อมูลแนวโน้มเป็นชุดข้อมูลที่ผ่านการรวบรวมในช่วงหลายปีหลายทศวรรษที่จะช่วยระบุแนวโน้มหรือรูปแบบทิศทางการพัฒนาในด้านระบบสังคมและพฤติกรรมของเรา ข้อมูลแนวโน้มช่วยให้เรามองเห็นได้ชัดขึ้นว่าระบบสังคมนี้หรือพฤติกรรมนี้กำลังไปในทิศทางใดตัวอย่างเช่นวิธีการปลูกพืชเพื่อเป็นอาหารคุณภาพทางโภชนาการจากระบบการปลูกพืชเหล่านี้ รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพของผู้ที่บริโภคอาหารเหล่านี้ด้วยในระยะยาว กล่าวคือประชากรกลุ่มสังคมจะมีสุขภาพที่ดีขึ้นหรือแย่ลง ข้อมูลแนวโน้มนี้จะแสดงข้อมูลเหล่านี้ได้เมื่อดูจากมุมมองด้านความคิดอย่างเป็นระบบ แดชบอร์ดนี้ออกแบบมาเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงและสำรวจความก้าวหน้าในมิติต่างๆที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนของเชียงใหม่ตามกรอบความยั่งยืนทั้ง 4 มิติได้แก่ธรรมชาติเศรษฐกิจสังคมและความเป็นอยู่ แดชบอร์ดนี้ยังเชื่อมโยงไปถึงภาคธุรกิจหน่วยงานและกลุ่มผู้อาศัยที่กำลังจัดการในแต่ละตัวชี้วัดเพื่อพัฒนานครแห่งนี้ และท้ายที่สุด เราได้แสดงการมีส่วนร่วมและเชื่อมตัวชี้วัดด้านความยั่งยืนเหล่านี้เข้ากับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) หมายเหตุ: มีการลิงก์ข้อมูลทั้งหมดไปที่แหล่งข้อมูลต้นฉบับ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDG)
หมายเหตุ: ข้อมูลและข้อมูลที่ให้ทั้งหมดจะเชื่อมโยงกับแหล่งข้อมูลดั้งเดิม




ที่อยู่
ซอย บ้านหลิ่งห้า 9 อำเภอเมืองเชียงใหม่ เชียงใหม่ 50200
จดหมายข่าว
ไม่พลาดข่าวสารล่าสุด