
เราเริ่มกระบวนการทำความเข้าใจผู้อาศัยในเชียงใหม่ว่าพวกเขาคิดอย่างไรกับเชียงใหม่ในปัจุบันด้วยสี่มิติหลักของความยั่งยืนและสิ่งที่พวกเขาต้องการเห็นในระยะยาว อยากรักษาอะไรไว้และอยากเปลี่ยนอะไร เวิร์กชอปสาธารณะนี้ออกแบบมาเพื่อฟังเสียงและข้อกังวลของชุมชน และทำความเข้าทางออกที่พวกเขาต้องการเห็นในเชิงที่ให้เชียงใหม่มีความยั่งยืนมากขึ้น น่าอยู่มากขึ้น เพื่อความทั่วถึง เราได้สร้างแบบสำรวจเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่มีเป้าหมายเดียวกัน แบบสำรวจนั้นได้ใช้งานในปี 2019 ณ งาน City Life Festival

ด้วยข้อมูลที่เราเก็บรวบรวมมาในช่วงสองปีก่อนหน้า เราสามารถระบุตัวชี้วัดความยั่งยืนหลักภายใต้แต่ละมิติและเริ่มกระบวนการแสดงข้อมูลเหล่านี้ผ่านช่องทางออนไลน์ ด้วยความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ เราได้ออกแบบและรังสรรค์เว็บไซต์พร้อมออนไลน์แดชบอร์ดเพื่อนำเสนอตัวชี้วัดความยั่งยืน 20 ตัวชี้วัดที่มีความเกี่ยวข้องกับมิติหลักของความยั่งยืนทั้งสี่ (แต่ละมิติมี 5 ตัวชี้วัด) จากนี้เรามีเป้าหมายในการนำเสนอข้อมูลแนวโน้มของแต่ละตัวชี้วัดเพื่อแจ้งแก่สาธารณะว่าเชียงใหม่เดินหน้าไปในทิศทางใดบ้างภายใต้ตัวชี้วัดแต่ละตัว

หลังทำวิจัยมีหลายเดือน เราตื่นเต้นที่จะได้เปิดเผยสิ่งที่งานวิจัยของเราค้นพบแบบสั้น ๆ แล้ว ตัวชี้วัดความยั่งยืนนี้คือขยะ โดยเฉพาะการรีไซเคิลขยะในเชียงใหม่ ก่อนอื่นไปดูสถานการณ์ปัจจุบันทั้งในประเทศไทยและจังหวัดเชียงใหม่ก่อนเพื่อให้เข้าใจจุดที่เราอยู่ในปัจจุบัน ด้วยความเข้าใจใหม่เกี่ยวกับนโยบายด้านขยะของประเทศไทย เราก็สามารถอธิบายทางออกได้หลายทาง ทั้งในระดับเทศบาล องค์กร และที่อยู่อาศัยที่สามารถพัฒนสระบบการแยกขยะและรีไซเคิลในเชียงใหม่ได้ งานวิจัยชิ้นนี้มีรูปเล่มให้อ่านฟรีในรูปแบบไฟล์ PDF ทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สามารถหาอ่านได้ทางแดชบอร์ดออนไลน์ของเรา